วันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2558

เกิดอะไรขึ้นเมื่อ กนง.ลดดอกเบี้ยนโยบาย 0.25%

ผลการประชุมบอร์ด กนง. ครั้งที่ 2 ปี 58 มีมติ 4 ต่อ 3 เสียง ให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% หรือจาก 2.00% เหลือ 1.75% ให้เหตุผลกระสุนมีเพียงพอรับมือความเสี่ยงเศรษฐกิจช่วงที่เหลือ หวังเรียกความเชื่อมั่น ช่วยลดภาระหนี้ให้ประชาชน พร้อมลดประมาณการณ์เศรษฐกิจยกชุด หลังเศรษฐกิจไทยอาจขยายตัวต่ำกว่า 4%

ทั้งนี้ ในวันที่ 20 มี.ค.2558 รายงานนโยบายการเงินฉบับเดือนมี.ค. เตรียมปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยต่ำกว่า 4% รวมถึงปรับตัวเลขส่งออก อัตราเงินเฟ้อ การอุปโภคบริโภค รวมถึงการลงทุน

สำหรับกรรมการ 4 เสียงที่ลงความเห็นให้ลดดอกเบี้ย ให้เหตุผลว่านโยบายการเงินควรผ่อนคลายเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มแรงสนับสนุนให้เศรษฐกิจและช่วยพยุงความเชื่อมั่นของภาคเอกชน ขณะที่กรรมการอีก 3 เสียง มองว่าควรคงอัตราดอกเบี้ยไว้ เนื่องจากนโยบายการเงินในปัจจุบันผ่อนคลายเพียงพอในการสนับสนุนการฟื้นตัว เศรษฐกิจและควรรักษาขีดความสามารถในการดำเนินนโยบายการเงินเมื่อเวลาที่จำ เป็นและมีประสิทธิภาพมากกว่าปัจจุบัน ซึ่งการกระตุ้นเศรษฐกิจควรอาศัยแรงขับเคลื่อนด้านการคลังมากกว่า โดยเฉพาะการดำเนินการตามแผนการลงทุนของภาครัฐ

“ในที่ประชุมมีการพูดคุยเรื่องประสิทธิผลของนโยบายการเงินด้วย โดยเห็นมาระยะหนึ่งแล้วว่าการใช้นโยบายการเงินมีประสิทธิผลไม่ได้มากในช่วง ที่ผ่านมา แต่การดำเนินการครั้งนี้ น่าจะมีส่วนช่วยได้บ้างในภาวะที่กลไกอื่นๆ ไม่ได้ทำงานช่วยเต็มที่ อย่างไรก็ตาม การลดดอกเบี้ยครั้งนี้ ช่วยเหลือภาพรวมเศรษฐกิจมากกว่าที่จะช่วยเหลือภาคส่งออกหรือภาคใดภาคหนึ่ง ของระบบเศรษฐกิจ”นายเมธีกล่าว และว่า การลดดอกเบี้ยนโยบายครั้งนี้ คาดหวังธนาคารพาณิชย์ปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ผ่านการให้สินเชื่อด้วย


สำหรับการปรับลดประมาณการณ์เศรษฐกิจไทย เนื่องจากมองว่าการใช้จ่ายภาคเอกชนต่ำกว่าคาดการณ์ไว้มาก สะท้อนจากข้อมูลในไตรมาส 4 ปี 2557 และข้อมูลบางส่วนในเดือนม.ค.-ก.พ.2558 อ่อนแรง ทำให้แรงส่งค่อนข้างต่ำในระยะข้างหน้า ส่วนหนึ่งเกิดจากความเชื่อมั่นของภาคเอกชนลดลง เช่นเดียวกับการใช้จ่ายภาครัฐ ก็ช้ากว่าคาดการณ์ไว้ สำหรับปัจจัยต่างประเทศ มองว่าความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากภาวะเศรษฐกิจจีนและเอเชีย ขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ปรับตัวดีขึ้นกว่าประเมินไว้

“ถ้าความเชื่อมั่นดีขึ้น คนอยากจะจับจ่ายใช้สอย ถ้าความเชื่อมั่นไม่ดี การใช้ก็จะจ่ายน้อยลง มองว่าปัจจุบันภาครัฐทำเต็มที่ ถ้าเพิ่มขึ้นอีก ก็จะช่วยได้ หรือนโยบายดูแลผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ถ้าเร่งขึ้นอีกก็เป็นสิ่งที่ดี”

นายเมธีกล่าวว่า ในการพิจารณาอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้ ได้นำเหตุผลการปรับลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางอื่นมาประกอบการตัดสินใจด้วย เพราะเข้าใจว่าการดำเนินโนบายการเงินของแต่ละประเทศ ขึ้นกับภาวะเศรษฐกิจในประเทศนั้นๆ และไทยก็ดูความจำเป็นของเราเองมากกว่า และในที่ประชุมไม่ได้ห่วงเงินทุนไหลออกมากนัก ซึ่งในที่ประชุมได้หารือเรื่องนี้ โดยมองว่า ที่ผ่านมา เห็นว่าภาพรวมเงินทุนจากต่างประเทศไหลออกเล็กน้อย และมองว่าการลดดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% ถือว่าไม่มาก ก็ไม่น่าจะกระตุ้นให้เงินไหลออกเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม การประเมินทิศทางการเคลื่อนย้ายเงินทุนเป็นเรื่องยาก ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างประเทศเป็นสำคัญ

นอกจากนี้ กรรมการยังกำชับให้ติดตามผลกระทบความเสี่ยงที่มีอาจสะสมจากพฤติกรรมแสวงหาผล ตอบแทนที่สูงกว่า (Search for yield) ภายใต้ภาวะอัตราดอกเบี้ยในประเทศที่อยู่ระดับต่ำมาเป็นเวลานานทั้งการลงทุน พันธบัตรและตลาดหุ้น ส่วนการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ก็มีการปรับตัวพอสมควรในช่วงที่ผ่านมา ด้านเสถียรภาพการเงินอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ไม่รุนแรงขึ้น โดยในส่วนหนี้ครัวเรือนไม่น่าเป็นห่วง เพราะธนาคารระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อภาคครัวเรือน และกรรมการบางท่านมองว่าการลดดอกเบี้ยนโยบายลงจะช่วยลดภาระหนี้ครัวเรือนได้ บ้าง แต่ไม่ทำให้สินเชื่อครัวเรือนขยายตัว ขณะที่ภาคอสังหาริมทรัพย์ก็ไม่ได้น่าเป็นห่วง ซึ่งปัจจุบันอยู่ในระยะฟื้นตัว


"หม่อม อุ๋ย"เชื่อกระตุ้นเศรษฐกิจได้ และยังทำให้ค่าบาทอ่อนลงมีผลดีต่อส่งออกด้วย แต่"สมหมาย"ชี้ลดน้อยและไม่ต่อเนื่องเชื่อไม่มีผลกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่อาจช่วยเรื่องสกัดเงินทุนไหลเข้าเท่านั้น


นาย สมหมาย ภาษี รมว.คลัง กล่าวถึงกรณีคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ตัดสินใจลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% เหลือ 1.75% ว่าไม่ได้เป็นการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างมีนัย ซึ่งหากจะให้มีผลมากการลดดอกเบี้ยจะต้องมีความต่อเนื่อง แต่จากการที่ความเห็นคณะกรรมการที่ 4 ต่อ 3 เสียงนั้นทำให้ตลาดคาดการณ์ไม่ได้ว่าจะมีการลดดอกเบี้ยต่อเนื่องหรือไม่ ไม่เหมือนกับความเห็นเอกฉันท์หรือเสียงส่วนใหญ่ให้ลดดอกเบี้ยลง

"เท่า ที่ดูยังพูดไม่ได้หรือมั่นใจได้ว่าดอกเบี้ยลดแค่ เท่านี้จะอยู่ในช่วงดอกเบี้ยขาลง ถ้าสัญญาณไม่ชัดการ ลดดอกเบี้ยก็ไม่มีผลอะไรมากมาย การลดดอกเบี้ยของ กนง.น่าจะมาจากความกดดันของภาคสังคมที่ต้องการให้ลดดอกเบี้ยอย่างมาก รวมถึงป้องกันปัญหาเรื่องเงินทุนไหลเข้าจากมาตรการอัดฉีดสภาพคล่อง (คิวอี) ในหลายๆ ประเทศ ดังนั้น ที่ระบุว่าลดดอกเบี้ยเพราะเห็นว่าเศรษฐกิจโตช้าจึงเป็นเพียงข้ออ้าง เพราะเห็นชัดอยู่แล้วว่าเศรษฐกิจจะโตน้อยกว่าที่คาด"


ยอม รับว่าที่ผ่านมาเศรษฐกิจค่อนข้างจะฟื้นตัวช้ากว่าที่คาดไว้ เพราะการส่งออกไม่ดี ตอนนี้จึงยังคาดการณ์ ไม่ถูกว่าเศรษฐกิจปีนี้จะโตได้ถึง 4% หรือไม่ แต่ในส่วนของนโยบายการคลังก็เร่งเต็มที่และเตรียมจะออกมาตรการเพิ่มอีก แต่ยังไม่สามารถให้รายละเอียดได้ ซึ่งส่วนหนึ่งจะเพิ่มรายได้จากภาษีเป็นเรื่องที่มีความจำเป็น จากปัจจุบันรัฐมีรายได้จากภาษีคิดเป็น 18-19% ของจีดีพี ต่อไปต้องตั้งเป้าให้เพิ่มเป็น 20-21% เพื่อให้มีรายได้มากพอที่จะใช้เบิกจ่าย


ด้านม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่าการลดดอกเบี้ยจะช่วยอุตสาหกรรมส่งออกของไทย เพราะทำให้ค่าเงินบาทอ่อนลงและช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้บ้าง เพราะเมื่ออัตราดอกเบี้ยปรับลงทำให้ค่าเงินบาทไม่แพง ทำให้มีความหวัง

ไม่ น่าห่วงเรื่องการลดลงของอัตราดอกเบี้ยจะทำให้เงินทุนไหลออก ส่วนที่มองกันว่าลดน้อยเกินไปหรือไม่นั้นต้องมองว่าการลดอัตราดอกเบี้ย นโยบายนั้นจะไม่ส่งผลในทันที แต่สิ่งที่น่าสนใจคือการส่งสัญญาณที่ดีของกนง. ที่จะมีการติดตามภาวะเศรษฐกิจของไทย และใช้นโยบายการเงินเป็นเครื่องมือสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจ

ที่มา: ข่าวสด,ผู้จัดการ

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น