วันอังคารที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2558

คาดQ2ตลาดอสังหาฯคึก! ชี้ผู้ประกอบการเร่งปั๊มยอด/แนะรัฐเร่งกระตุ้น

2 นายกสมาคมอสังหาฯ มองตลาดไตรมาส 2 คึก เหตุผู้ประกอบการต้องเร่งสร้างยอดขาย สมาคมอาคารชุดคาดมีโครงการคอนโดมิเนียมตั้งแต่ระดับกลาง-บนเปิดขายใหม่รวม มูลค่า 7.5 หมื่นล้านบาท แนะรัฐเร่งหามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ด้าน ส.ธุรกิจบ้านจัดสรร ชี้สภาพเศรษฐกิจไม่มีผลกระทบตลาดบ้านเพราะเป็นกลุ่มผู้อยู่อาศัยจริง พร้อมเตือนผู้ประกอบการต้องวิเคราะห์ตลาดให้ละเอียด เอพี เล็งเปิดขาย 9โครงการใหม่ไตรมาส 2 รวมมูลค่า 1.6 หมื่นล้านบาท
นายประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต นายกสมาคมอาคารชุดไทย เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ถึงแนวโน้มตลาดอสังหาริมทรัพย์ไตรมาส 2 ปี 2558 ว่า ในไตรมาสนี้ผู้ประกอบการจะเร่งเปิดตัวคอนโดมิเนียมโครงการใหม่ใน กรุงเทพฯ-ปริมณฑลมากขึ้น โดยคาดว่าจะมีมูลค่าโครงการรวมประมาณ 7-7.5 หมื่นล้านบาท เนื่องจากในไตรมาส 1 ปี  มีจำนวนโครงการใหม่เปิดขายไม่มาก และโครงการที่จะเปิดขายใหม่ในไตรมาส 2 จะมีโครงการระดับกลางเพิ่มมากขึ้น สำหรับสินค้าที่ขับเคลื่อนตลาดในไตรมาส 1  ส่วนใหญ่เป็นสินค้าในตลาดบนที่มีระดับราคาเฉลี่ย 8-9 ล้านบาทต่อยูนิต จากเดิมในปี 2557 ระดับราคาขายเฉลี่ยจะอยู่ที่กว่า 2 ล้านบาทต่อยูนิตเท่านั้น
"ครึ่ง แรกปี 2558 ถือเป็นช่วงเวลาที่ผู้ประกอบการต้องเร่งทำยอดขายใหม่เพื่อให้ธุรกิจเติบโต อย่างน้อย 10% เมื่อเทียบกับครึ่งแรกปี 2557 เนื่องจากเป็นอัตราการเติบโตจากฐานที่ต่ำ แต่ถ้าผู้ประกอบการจะเร่งยอดขายในช่วงครึ่งหลังปี 2558 อาจจะเป็นเรื่องยาก เพราะในครึ่งหลังปี 2557 มีการเปิดตัวโครงการใหม่จำนวนมาก ประกอบกับราคาที่ดินในปี 2558 เพิ่มสูงขึ้น ทำให้โครงการใหม่ที่เปิดขายต้องปรับราคาขึ้น และในสภาพเศรษฐกิจเช่นนี้อาจทำให้อัตราการเติบไตไม่เป็นไปตามเป้าที่ตั้งไว้ ส่งผลให้ตลาดกลับมาคึกคักอีกครั้งหนึ่ง"
ทั้งนี้ คาดว่าในปี 2558 ตลาดอสังหาริมทรัพย์จะมีอัตราการเติบโต 2-5% คิดเป็นมูลค่าตลาดกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ประมาณ 3 แสนล้านบาท ในขณะที่ปี 2557 มูลค่าตลาดอยู่ที่ 2.93 แสนล้านบาท ซึ่งอัตราการเติบโตดังกล่าวขึ้นอยู่กับสภาพเศรษฐกิจโดยรวมและความเชื่อมั่น ของผู้บริโภค
นายประเสริฐกล่าวอีกว่า สิ่งที่อยากให้ภาครัฐเร่งดำเนินการในเวลานี้คือ การหามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ และเร่งสร้างความเชื่อมั่นของผู้บริโภคให้กลับคืนมา แทนการหาวิธีการเรียกเก็บภาษีจากประชาชน  เพราะจะยิ่งทำให้ผู้บริโภคไม่อยากจับจ่ายใช้สอย เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจโลกและการส่งออกของไทยยังไม่มีแนวโน้มที่จะฟื้นตัว อีกทั้งราคาพืชผลทางการเกษตรก็ตกต่ำ
สำหรับยอดการเปิดตัวโครงการใหม่ในไตรมาส 1 ปี 2557 อยู่ที่ 2.35 หมื่นยูนิต แบ่งเป็น คอนโดมิเนียม 12,385 ยูนิต ทาวน์เฮาส์ 16,102 ยูนิต บ้านแฝด 1,055 ยูนิต บ้านเดี่ยว 3,527 ยูนิต อื่นๆ 447 ยูนิต รวมมูลค่า 6.4 หมื่นล้านบาท ในส่วนของไตรมาส 1 ปี 2558 ยอดเปิดตัวโครงการใหม่กลุ่มคอนโดมิเนียมอยู่ที่ประมาณ 5-8 พันยูนิต
ด้านนายอธิป พีชานนท์ นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร กล่าวว่า ตลาดบ้านแนวราบในไตรมาส 2 ยังคงดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง แม้ว่าในไตรมาส 1 ตลาดจะไม่ดีเท่าที่ควร แต่ก็มีอัตราการเติบโตจากไตรมาส 1 ปี 2557 อยู่ที่ 5% ด้วยเพราะตลาดแนวราบเป็นตลาดของกลุ่มผู้ที่ต้องการอยู่อาศัยจริง ดังนั้นไม่ว่าสภาพเศรษฐกิจจะเป็นเช่นไร ก็ยังคงมีผู้ต้องการซื้อบ้านเพื่ออยู่อาศัย ไม่เหมือนกับกลุ่มคอนโดมิเนียมที่มีทั้งผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง เก็งกำไร และลงทุน จึงทำให้ไม่มีความเสี่ยง โดยตลาดยังคงอยู่ในกลุ่มของระดับราคา 1-5 ล้านบาท ซึ่งกินส่วนแบ่งตลาดแนวราบ 75-80%
"ปัจจัยลบที่ยังคงเป็นอุปสรรคต่อเนื่องมาในไตรมาส 2 คือ เรื่องของความแน่นอนทางเศรษฐกิจ เพราะยังไม่เห็นว่าจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้น การลงทุนภาครัฐก็ยังไม่เป็นรูปธรรม ไม่ก่อให้เกิดการกระตุ้นทางเศรษฐกิจ ส่งผลให้ภาคเอกชนไม่มีความเชื่อมั่นในการลงทุน ผู้บริโภคเองก็ขาดความเชื่อมั่นในการจับจ่ายใช้สอย ดังนั้นผู้ประกอบการที่จะลงทุนในสภาวะเช่นนี้จะต้องระมัดระวัง ให้ความสำคัญและลงรายละเอียดกับเรื่องทำเลและโปรดักต์ที่ตรงกับความต้องการ ตลาด ส่วนต่างจังหวัดที่เป็นหัวเมืองหลักยังสามารถพัฒนาบ้านจัดสรรได้"
ขณะที่นายวิทการ จันทวิมล รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานกลยุทธ์การตลาด บริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงแผนการเปิดตัวโครงการใหม่ในไตรมาส 2 ว่า บริษัทมีแผนเปิดตัวทั้งหมด 9โครงการ มูลค่าโครงการรวมประมาณ 1.6 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นโครงการบ้านเดี่ยวแบรนด์ มายด์ 1 โครงการ, โครงการทาวน์เฮาส์ 2 โครงการ แบรนด์บ้านกลางเมืองและพลีโน่ และโครงการคอนโดมิเนียม 6 โครงการ แบรนด์แอสปายและไลฟ์

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 35 ฉบับที่ 3,039  วันที่ 29 มีนาคม - 1 เมษายน  พ.ศ. 2558

ธอส.ปล่อยเงินกู้ รายได้ไม่ถึง 15,000/ด. กู้ซื้อบ้านได้ 1.5 ล้าน


ธอส. เตรียมวงเงิน 8,000 ล้านบาท ทำ “โครงการบ้าน ธอส.เพื่อสานรัก ปี 2558” สินเชื่อบ้านสำหรับผู้มีรายได้สุทธิไม่เกิน 15,000 บาท/เดือน วงเงินกู้ไม่เกิน 1.5 ล้านบาท/ราย อัตราดอกเบี้ยปีแรก 3.50% ต่อปี (กรณีกู้ 1 ล้านบาท อัตราเริ่มต้นผ่อนชำระปีแรกเพียง 5,100 บาท/เดือนเท่านั้น) ยื่นคำขอกู้และทำนิติกรรมภายใน 30 ธันวาคม 2558


นางอังคณา ปิลันธน์โอวาท ไชยมนัส กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยว่า เพื่อเป็นการสนับสนุนนโยบายรัฐบาลที่ต้องการลดความเหลื่อมล้ำให้กับประชาชน ธอส. ในฐานะสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ซึ่งมีพันธกิจที่จะมุ่งพัฒนาทั้งผลิตภัณฑ์และการให้บริการที่ดีอย่างต่อ เนื่อง รวมทั้งการเป็นผู้นำด้านสินเชื่อที่อยู่อาศัยในกลุ่มผู้มีรายได้น้อยและ ปานกลาง จึงได้เตรียมวงเงิน 8,000 ล้านบาท จัดทำ “โครงการบ้าน ธอส. เพื่อสานรัก ปี 2558” มีรายได้สุทธิไม่เกิน 15,000 บาท/เดือน วงเงินให้กู้สูงสุดไม่เกิน 1,500,000 บาท อัตราดอกเบี้ยปีสำหรับประชาชนทั่วไปปีแรก 3.50% ต่อปี ปีที่ 2 คิดอัตราดอกเบี้ย 4.25% ต่อปี ปีที่ 3 จนถึงตลอดอายุสัญญากู้ กรณีลูกค้ารายย่อยทั่วไป อัตราดอกเบี้ย MRR-0.75% ต่อปี


กรณีลูกค้าสวัสดิการ อัตราดอกเบี้ย MRR-1.00% ต่อปี (ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ย MRR ธอส.เท่ากับ 6.85% ต่อปี) วัตถุประสงค์ให้กู้เพื่อซื้อ ปลูกสร้าง ต่อเติม ขยาย หรือซ่อมแซมอาคาร หรือกรณีเป็นลูกค้าเดิมของ ธอส.และมีคุณสมบัติตามโครงการนี้ สามารถขอกู้เพื่อต่อเติม ขยาย หรือซ่อมแซมอาคารได้เช่นกัน ผ่อนชำระได้นานสูงสุดถึง 30 ปี ยื่นคำขอกู้และ     ทำนิติกรรมภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2558


“เชื่อว่าโครงการบ้าน ธอส. เพื่อสานรักปี 2558 จะช่วยสร้างโอกาสให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยสามารถมีบ้านเป็นของตนเองได้ ซึ่งจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำด้านที่อยู่อาศัยให้กับประชาชนตามนโยบายรัฐบาล ได้อย่างแน่นอน สำหรับโครงการดังกล่าว ธนาคารได้จัดทำขึ้นเพื่อรองรับความต้องการของประชาชนผู้มีรายได้สุทธิไม่ เกินเดือนละ 15,000 บาท ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินกู้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยอัตราดอกเบี้ยต่ำ โดยกรณีขอกู้วงเงิน 900,000 - 1,500,000 บาท  อัตราเริ่มต้นผ่อนชำระเงินงวดปีแรกประมาณ 4,600 - 7,700 บาทต่อเดือนเท่านั้น ซึ่งถือเป็นเงินงวดค่าบ้านระดับที่ลูกค้าประชาชนผู้มีรายได้น้อยสามารถผ่อน ชำระได้ และมีเงินเพียงพอไปใช้จ่ายในการดำรงชีวิตประจำวันได้อีกด้วย” นางอังคณา กล่าว


นางอังคณา กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการบ้าน ธอส. เพื่อสานรักปี 2558 ถือเป็นหนึ่งใน 5 มาตรการลดความ   เหลื่อมล้ำที่ธนาคารจัดทำขึ้นภายใต้กรอบวงเงินรวม 25,500 ล้านบาท โดยจะทยอยเปิดตัวอย่างต่อเนื่อง และยังเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันให้ธนาคารสามารถปล่อยสินเชื่อใหม่ในปี 2558 ได้ตามเป้าหมาย 149,800 ล้านบาท หลังจากเพียง 2 เดือนแรกของปี 2558 ยอดปล่อยสินเชื่อใหม่ยังคงโตขึ้นต่อเนื่อง โดย ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ สามารถปล่อยสินเชื่อได้แล้ว 18,676.20 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง 13.51%


ทั้งนี้ ลูกค้าประชาชนทั่วไปที่สนใจผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของธนาคาร ทั้งสินเชื่อบ้านดอกเบี้ยต่ำ เงินฝากผลตอบแทนสูง หรือ ทรัพย์ NPA หรือบ้านมือสองคุณภาพดีทำเลเด่นที่มาพร้อมกับโปรโมชั่น 0% นาน 12 เดือน



ชูยานนาวานำร่องพัฒนาริมน้ำ

มหาดไทยไฟเขียวกทม.เร่งพัฒนาพื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา นำร่องยานนาวาโมเดล ลงทุน 600 ล้าน ตามไอเดียของศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง ดึงภาครัฐ-เอกชนที่เป็นเจ้าของที่ดินริมน้ำ 7  รายร่วมเป็นภาคีพันธมิตร มีบริษัทอู่กรุงเทพ, คันทรี่กรุ๊ปฯ, กรมธนารักษ์, กรมทางหลวงชนบท, องค์การสะพานปลา วัดสุทธิฯ และวัดยานนาวา
ผศ.ดร.นิรมล  กุลศรีสมบัติ ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UDDC) เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ"ว่า ตามที่รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีนโยบายให้พัฒนาเส้นทางจักรยานครอบคลุมพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อแก้ไขและบรรเทาปัญหาจราจร ตลอดจนให้เกิดการเชื่อมโยงชุมชนต่างๆ และแหล่งท่องเที่ยว ในส่วนพื้นที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) นั้นทางศูนย์ UDDC เสนอให้ดำเนินการพื้นที่ช่วงยานนาวาเป็นโครงการนำร่อง ซึ่งกระทรวงมหาดไทยเห็นชอบให้กทม.รับไปเร่งดำเนินการจัดสรรงบประมาณแล้ว
โดยการดำเนินการครั้งนี้ทาง UDDC ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านการวางผังและออกแบบซึ่งต่อมาได้รวมกลุ่มกันก่อตั้ง เป็น "คณะทำงานเฉพาะกิจการพัฒนาพื้นที่ริมน้ำ" นำเสนอโครงการพัฒนาพื้นที่ริมน้ำย่านยานนาวา ย่านประวัติศาสตร์สำคัญของกรุงเทพฯ ระยะทาง 1.2 กม. คาดว่าใช้เงินลงทุนประมาณ 600 ล้านบาท โดยเป็นพื้นที่ในการครอบครองของ 8 กลุ่มทั้งภาครัฐ-เอกชนจำนวน 7 รายประกอบด้วย บริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด บริษัท คันทรี่ กรุ๊ปดีเวลล็อปเมนท์ฯ  สำนักงานบริหารพื้นที่ราชพัสดุกรุงเทพ กรมธนารักษ์ กรมทางหลวงชนบท องค์การสะพานปลา วัดสุทธิวราราม วัดยานนาวา และกลุ่มเอกชนรายย่อย พร้อมกับเชิญ 8 โรงแรมชั้นนำริมแม่น้ำเจ้าพระยาตลอดจนอีกหลายกลุ่มเข้ามาร่วมขับเคลื่อน โครงการดังกล่าวให้เกิดผลเป็นรูปธรรมต่อไป
"คาดว่ากทม.จะเร่งผลักดันและเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2559 ส่วนรูปแบบนอกเหนือจากจะเป็นเส้นทางจักรยานแล้วยังเป็นลานเพื่อการพักผ่อน หย่อนใจ เป็นแลนด์มาร์กแห่งใหม่อีกแห่งหนึ่งเพื่อจะพัฒนาให้เป็นพื้นที่กิจกรรมริม น้ำ  ปรับปรุงสวนสาธารณะให้ใช้งานได้อเนกประสงค์ ปรับปรุงสภาพแวดล้อมและปรับเปลี่ยนการพัฒนาพื้นที่ในจุดต่างให้อย่างสอด คล้อง เช่นพื้นที่องค์การสะพานปลา อู่ต่อเรือกรุงเทพ ปรับปรุงการเข้าถึงพื้นที่ริมน้ำ อาทิ ท่าเรือ ตรอก ซอกซอย"
ด้านดร.จุฬา สุขมานพ อธิบดีกรมเจ้าท่า กล่าวว่า เรื่องนี้เห็นว่าจะสามารถใช้เป็นต้นแบบในการพัฒนาได้ดี กรณีนี้เป็นการริเริ่มของคนในพื้นที่และมีกลุ่มอาจารย์ที่จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยช่วยขับเคลื่อน  ส่วนกรมเจ้าท่ายังมีแผนการพัฒนาท่าเรือต่างๆ ตามแผนปี 2558-2559 อยู่แล้วขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการ
"ส่วนประเด็นการสร้างล่วงล้ำลำน้ำนอกจากกรมเจ้าท่าจะดูเรื่องการอนุญาต โดยคำนึงถึงเรื่องความปลอดภัยในการเดินเรือเป็นหลักแล้ว หากผ่านที่ดินใคร เจ้าของต้องยินยอมด้วย  ทั้งนี้ทางกรมเคยช่วยดูแบบที่จะก่อสร้างและให้ความเห็นไปแล้ว  ส่วนในทางเทคนิค เขื่อนป้องกันในลักษณะนี้ เอกชนขออนุญาตเองโดยตรงไม่ได้ หน่วยงานของรัฐต้องเป็นเจ้าของโครงการและขออนุญาตจากเจ้าท่าเท่านั้น"
ด้านนายเดชา  ตั้งสิน  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แม่น้ำ เรสซิเดนท์ จำกัด ผู้บริหารโครงการโรงแรมรามาดา ริมแม่น้ำเจ้าพระยา กล่าวว่ารับทราบแผนการพัฒนาโครงการมาอย่างต่อเนื่อง เห็นว่าจะเกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจในภาพรวม โดยเฉพาะทำเลริมแม่น้ำเจ้าพระยา แต่ปัจจุบันปัญหาการเข้าถึงพื้นที่ริมน้ำยังไม่ได้รับความสะดวก ซึ่งหากมีเส้นทางจักรยาน  หรือทางเดินเพื่อการพักผ่อนก็จะสามารถเข้าถึงได้อย่างสะดวกสบายยิ่งขึ้น ปัจจุบันเอกชนหลายรายดำเนินการก่อสร้างด้านหน้าโครงการบ้างแล้วสามารถเชื่อม โยงกับโครงการได้ทันที
"ปัจจุบันราคาประเมินที่ดินฝั่งพระนครยังคงสูงกว่าฝั่งธนบุรีเล็กน้อย ล่าสุดพื้นที่บริษัทน้ำดื่มชื่อดังย่านสะพานสาทรก็ขายได้ตารางเมตรละ 4.5 แสนบาท ส่วนฝั่งพระนครยังไม่มีราคาล่าสุดเพราะไม่มีพื้นที่แปลงใหญ่ให้ได้ขายอีก แล้ว  ขณะนี้เท่าที่สำรวจมีพื้นที่ของเอเชียทีคและของบริษัทแม่น้ำเท่านั้นที่ สามารถเชื่อมโยงกับถนนเจริญกรุงได้อย่างสะดวก"

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 35 ฉบับที่ 3,037  วันที่ 22- 25  มีนาคม  พ.ศ. 2558

วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2558

"บิ๊กป๊อก"ตรวจเขตเศรษฐกิจพิเศษ หนุนทางรฟ.ลาว-แก่งคอย





สำรวจ ทาง - พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย นั่งรถไฟจากสถานีรถไฟหนองคายไปยังกลางสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 1 สำรวจเส้นทางเชื่อมต่อจากประเทศลาวมา จ.หนองคาย เพื่อขยายต่อไปยัง อ.แก่งคอย จ.สระบุรี เพื่อรองรับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษของจังหวัดหนองคาย

หนองคาย - เมื่อวันที่ 25 มี.ค. พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย (มท.) พร้อมนายสุธี มากบุญ รมช.มท., นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ ปลัด มท. และคณะ ตรวจเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษของจังหวัดหนองคาย ที่สถานีรถไฟหนองคาย โดยมีนายสุชาติ นพวรรณ ผวจ.หนองคาย, นายวัฒนา คงมั่น ผู้อำนวยการศูนย์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือการรถไฟแห่งประเทศไทย นำส่วนราชการที่เกี่ยวข้องให้ข้อมูล จากนั้นทั้งหมดนั่งรถไฟระหว่างประเทศ เดินทางจากสถานีรถไฟหนองคายไปยังกลางสะพานมิตรภาพไทย-ลาว พิจารณาพื้นที่จัดสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงคู่ขนานกับสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 1 และนั่งรถไฟกลับมายังสถานีรถไฟนาทา อ.เมืองหนองคาย ชมจุดที่มีการจัดสรรพื้นที่สำหรับการตั้งคอนเทนเนอร์ยาร์ดและจุดกระจาย สินค้า

พล.อ.อนุพงษ์กล่าวว่า เขตเศรษฐกิจพิเศษของจังหวัดหนองคายน่าจะมีความพร้อมแล้ว ทั้งพื้นที่ของจังหวัดและพื้นที่การรถไฟ ส่วนเส้นทางเชื่อมต่อจากลาวมาหนองคายไปแก่งคอย โดยการบริหารจัดการของจังหวัดหนองคายจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือเขตเศรษฐกิจพิเศษที่ทางจังหวัดดูแล และนิคมอุตสาหกรรมที่ทางภาคเอกชนและการนิคมอุตสาหกรรมดูแล ซึ่งจัดเตรียมพื้นที่ไว้ในเขต อ.สระใคร พิจารณาแล้วหากผู้ประกอบการอุตสาหกรรมพร้อมน่าจะดำเนินการได้ในเร็วๆ นี้ ซึ่งหากนิคมอุตสาหกรรมเดินหน้าได้ดี ประกอบกับเส้นทางรถไฟขนาดมาตรฐานเสร็จ คอนเทนเนอร์ยาร์ดจะมีส่วนสำคัญมาก แต่ถ้าเพียงแค่ส่งผ่านสินค้าจะไม่คุ้มค่า

"ผมเห็นว่าควรเร่งให้เกิดเขตเศรษฐกิจพิเศษในพื้นที่หนองคาย เพราะขณะนี้นครหลวงเวียงจันทน์มีความพร้อม เส้นทางรถไฟจากจีนเชื่อมมายังลาวและเข้าหนองคาย จะเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้อย่างมหาศาล ทั้งการสัญจรข้ามแดน การขนส่งสินค้าปริมาณจะมากขึ้นแน่นอน หากรอให้ทางรถไฟเสร็จแล้วค่อยทำเขตเศรษฐกิจพิเศษ จะไม่ทันการณ์ อาจไม่เกิดผลใน 2-3 ปีนี้ แต่เมื่อจีนก้าวมาถึงลาวแล้วจะเห็นผลได้ทันที" พล.อ.อนุพงษ์กล่าว




ไทย"ไล่กวด" เวียดนาม





ไม่ ต้องงงครับตั้งชื่อเรื่องไม่ผิดแน่ๆ เพราะต่างชาติต่างฟันธงแบบไม่ต้องกลัวธงหักว่า เวียดนามโตแรงแซงไทยเริ่มจะทิ้งไทยไปเรื่อยๆ แล้วจริงๆ เร็วๆ นี้ สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานกึ่งวิเคราะห์ว่า เศรษฐกิจของเวียดนามกำลัง จะทะยานเติบโตอย่างรวดเร็ว เนื่องจากตั้งอยู่ใน "จุดการเดินเรือ" ที่สำคัญ แห่งหนึ่งของโลก และมีประชากรอายุน้อยที่กำลังขยายตัวขึ้น คนทำงานของเขามีมากกว่าคนแก่ที่ทำงานไม่ได้

สอดคล้องกับไพรซ์วอเตอร์เฮาส์ ระบุว่า เวียดนามมีการเติบโตเร็วที่สุดประเทศหนึ่งของโลก ตั้งแต่ขณะนี้จนถึงปี 2050 เวียดนามจะโตเฉลี่ย 5.3% ระหว่างปี 2014-2050

สัญญาณการเติบโตของเวียดนามเริ่มฉายแววมากขึ้นโดยในปี 2014 โดยเวียดนามส่งสินค้าไปยังสหรัฐมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของอาเซียนมากกว่าไทยและมาเลเซีย ขณะที่ไทยในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาส่งออกหดตัวลงต่อเนื่อง เฉพาะปีที่ผ่านมา เวียดนามโตเฉลี่ย 14% น่าวิตกตรงที่สินค้าที่เวียดนามส่งออกไปสหรัฐเป็นสินค้ากลุ่มเดียวกับไทย

นั่นแปลว่า เวียดนามแย่งตลาดส่งออกหลักของไทยได้อย่างสิ้นเชิง ข้อ ได้เปรียบที่เวียดนามเหนือไทยหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นการเมืองที่มีเสถียรภาพกว่า แรงงานมีประสิทธิภาพแต่ราคาถูกจึงเย้ายวนให้นักลงทุนจากญี่ปุ่น ยุโรป สหรัฐเข้าไปลงทุนแทนที่จะมาไทย

เฉพาะอย่างยิ่งนักลงทุนจากสหรัฐ ไม่มาลงทุนในบ้านเราหลายปีแล้วโดย ไม่เกี่ยวกับมีรัฐบาลจากการเลือกตั้ง หรือไม่ ล่าสุดบริษัทซัมซุงของเกาหลีใต้เทงบฯ 9 หมื่นล้านบาท อ้างแบบเดียวกันว่า เวียดนามมีค่าแรงถูกกว่า แรงงานมีประสิทธิภาพสูงกว่าและการ เมืองสงบกว่าไทย

ตั้งแต่ปี 2543 หรือหลังวิกฤตต้มยำกุ้งเป็นต้นมา เวียดนามโตเฉลี่ย 6.13% ต่อปี ขณะที่ไทยโตเฉลี่ยแค่ 1.1% เท่านั้น ต่ำกว่าเพื่อนบ้านในอาเซียนทั้งหมด

ปัจจัยชี้ขาดที่เวียดนามเหนือไทย นอกจากการเมืองนิ่ง คนมีคุณภาพราคาถูกแล้ว

สิ่งที่เราด้อยกว่าหลายๆ ประเทศ คือยึดคนมากกว่ายึดระบบ เมื่อผู้นำ "ขาดวิสัยทัศน์" ไร้ศักยภาพในการบริหาร เราจึงก้าวถอยหลังไปทุกวัน




ยึดคืนที่รัฐตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษลงตัว เปิดทางเอกชนเช่าไร่ละแสนต่อปี





จัด สรรที่ดินรัฐรับเขตเศรษฐกิจพิเศษ ชง "บิ๊กตู่" ใช้อำนาจพิเศษสั่งเพิกถอนที่สาธารณประโยชน์-ที่ดิน ส.ป.ก.-พื้นที่ป่าไม้ ให้กรมธนารักษ์ ทุ่ม 7.3 พันล้านบาทผุดนิคมอุตฯ-ศูนย์โลจิสติกส์-พาณิชยกรรมรองรับ ลอตแรก 4.6 พันไร่ เปิดทางเอกชนเช่า 1-1.4 แสนบาท/ไร่/ปี

พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เพื่อให้การพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษเกิดขึ้นเป็นรูปธรรมโดยเร็ว โดยเฉพาะการจัดหาที่ดินรัฐรองรับการจัดตั้งโรงงานและนิคมอุตสาหกรรม แก้ไขปัญหาการปั่นราคาเก็งกำไรที่ดิน ล่าสุด ที่ประชุมคณะอนุกรรมการด้านการจัดหาที่ดินและบริหารจัดการ ซึ่งมีตนเป็นประธาน ได้หารือกับหน่วยงานซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบดูแลที่ดินของรัฐ อาทิ กรมธนารักษ์ กรมป่าไม้ สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) กรมพัฒนาที่ดิน การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กรมที่ดิน ฯลฯ สามารถรวบรวมที่ดินรัฐได้รวม 2.4 หมื่นไร่ ในจำนวนนี้ได้จัดสรรที่ดินบางส่วนรองรับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษระยะแรก เรียบร้อยแล้ว

ขณะเดียวกันเพื่อให้การดำเนินการเป็นไปด้วยความรวด เร็ว และให้หน่วยงานเจ้าของพื้นที่สามารถส่งมอบที่ดินให้กรมธนารักษ์นำไปจัดให้ เอกชนเช่าใช้ประโยชน์ได้เร็วขึ้น ไม่ต้องรอกระบวนการออกกฎหมายเพิกถอนที่ดินของรัฐ ซึ่งต้องใช้ระยะเวลารวมแล้วกว่า 400 วัน อาทิ การเพิกถอนที่ดินสาธารณประโยชน์ พื้นที่ป่าไม้ ฯลฯ จะเสนอให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ใช้อำนาจพิเศษตามรัฐธรรมนูญชั่วคราว มาตรา 44 ที่ให้อำนาจหัวหน้า คสช. โดยความเห็นชอบของ คสช. ใช้อำนาจสั่งการให้เจ้าของพื้นที่ส่งมอบพื้นที่ที่ดินของรัฐที่ยังติดปัญหา ให้กรมธนารักษ์ดูแลได้ทันที เพื่อประโยชน์ด้านเศรษฐกิจและการบริหารราชการแผ่นดิน

แหล่งข่าวจาก ทำเนียบรัฐบาลเปิดเผยเพิ่มเติมว่า สำหรับพื้นที่รองรับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษระยะแรก 4,684 ไร่ ที่ กนอ.กำหนดพื้นที่และรูปแบบจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม มูลค่าการลงทุน 7,339 ล้านบาท ประกอบด้วย1.จ.สงขลา ต.สำนักขาม อ.สะเดา พื้นที่ 1,097.61 ไร่ เป็นที่ดินเอกชนอยู่ระหว่างยึดทรัพย์ของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอก เงิน (ปปง.) ห่างชายแดนด่านสะเดา 2 กม. ห่างสำนักงานด่านศุลกากรสะเดา 500 เมตร ติดที่ตั้งด่านศุลกากรสะเดาแห่งใหม่ และถนนกาญจนวนิชย์ ปัจจุบันใช้ประโยชน์เพื่ออยู่อาศัย และเป็นสวนยางพารา มีแหล่งน้ำใกล้พื้นที่ ระบบไฟฟ้าเข้าถึง

กำหนดประเภทอุตสาหกรรมเป้า หมาย คือ การให้บริการโลจิสติกส์ ศูนย์ขนถ่ายสินค้าและคลังสินค้า อุตสาหกรรมยางพาราและผลิตภัณฑ์เกี่ยวเนื่องกับยางพารา อุตฯอาหารฮาลาล แปรรูปสินค้าเกษตร และอื่น ๆ ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การใช้ประโยชน์ที่ดิน พื้นที่รวม 1,097.61 ไร่ แยกเป็น 1.พื้นที่ก่อให้เกิดรายได้ 817.79 ไร่ มีเขตอุตสาหกรรม 533.75 ไร่ ศูนย์โลจิสติกส์และกระจายสินค้า 234.21 ไร่ และเขตพาณิชยกรรม 29.83 ไร่ 2.พื้นที่ระบบสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวก 231.35 ไร่ 3.พื้นที่สีเขียว แนวกันชน 68.47 ไร่ มูลค่าลงทุนรวมค่าที่ดิน 1,944 ล้านบาท ต้นทุนเฉลี่ยกว่า 1.77 ล้านบาท/ไร่ อัตราค่าเช่า 142,283 บาท/ไร่/ปี

2.จ.ตราด ต.ไม้รูด อ.คลองใหญ่ พื้นที่ 411.10 ไร่ เป็นพื้นที่ นสล.ในความดูแลของ อบต.ไม้รูด ห่างจุดผ่านแดนถาวรบ้านหาดเล็ก 30 กม. ห่างท่าเรืออเนกประสงค์คลองใหญ่ที่กำลังก่อสร้าง 12 กม. ห่างตัวเมืองตราด 63 กม. ห่างถนนสุขุมวิท 0.5 กม. ปัจจุบันบางส่วนใช้เป็นที่ทิ้งขยะ ประเภทอุตสาหกรรมเป้าหมาย การบริการโลจิสติกส์ ศูนย์ถ่ายเปลี่ยนสินค้าและยานพาหนะคลังสินค้า กิจการเพื่อสนับสนุนบริการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ บริการฟื้นฟูสุขภาพและบริการอื่น ๆ ที่ไม่มีผลกระทบสิ่งแวดล้อม การใช้ประโยชน์ที่ดิน 411.10 ไร่ แยกเป็น 1.พื้นที่ที่ก่อให้เกิดรายได้ 268.39 ไร่ เป็นเขตอุตฯทั้งหมด 2.พื้นที่ระบบสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวก 107.32 ไร่ 3.พื้นที่สีเขียวและแนวกันชน 35.39 ไร่ มูลค่าพัฒนารวมค่าที่ดิน 658 ล้านบาท ต้นทุนเฉลี่ย 1.6 ล้านบาท/ไร่ ค่าเช่า 128,563 บาท/ไร่/ปี

3.จ.ตาก ต.แม่ปะ อ.แม่สอด 1,421 ไร่ เป็นพื้นที่ป่าตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ห่างจากทางหลวง AH1 และแนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก 7 กม. ห่างสะพานมิตรภาพไทย-เมียนมาร์ แห่งที่ 1 ประมาณ 8 กม. ติดพื้นที่ก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-เมียนมาร์ แห่งที่ 2 อุตฯเป้า หมาย คือ การให้บริการโลจิสติกส์ ได้แก่ คลังสินค้า ศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าและยานพาหนะ อุตฯใช้แรงงานเข้มข้น ได้แก่ สิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม เครื่องเรือนจากไม้แปรรูป และแปรรูปสินค้าเกษตร อุตฯชิ้นส่วนประกอบยานยนต์ อัญมณีและเครื่องประดับ และอื่น ๆ ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

การใช้ประโยชน์ที่ดิน พื้นที่รวม 1,421 ไร่ แยกเป็น 1.พื้นที่ก่อให้เกิดรายได้ 1,143.23 ไร่ เป็นเขตอุตฯ 731.13 ไร่ ศูนย์โลจิสติกส์และกระจายสินค้า 384.60 ไร่ และเขตพาณิชยกรรม 27.50 ไร่ 2.พื้นที่ระบบสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวก 240.39 ไร่ 3.พื้นที่สีเขียวและแนวกันชน 37.38 ไร่ มูลค่าลงทุนรวมค่าที่ดินกว่า 2,155 ล้านบาท ต้นทุนที่ดินเฉลี่ยกว่า 1.51 ล้านบาท/ไร่ ค่าเช่า 121,823 บาท/ไร่/ปี

4.จ.มุกดาหาร ต.คำอาฮวน อ.เมือง 1,085.64 ไร่ เป็นพื้นที่ นสล.ในความดูแลกรมธนารักษ์ ปัจจุบันกรมวิชาการเกษตรใช้ประโยชน์เป็นแปลงทดลองการปลูกพืช อยู่ติดถนนทางหลวง 3019 ห่างจากสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 2 ประมาณ 21 กม. ห่างจากทางหลวง 2042 และแนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก 7 กม. อุตฯเป้าหมาย คือ การให้บริการโลจิสติกส์ ได้แก่ คลังสินค้า ศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าและยานพาหนะ อุตฯแปรรูปอาหารและเครื่องดื่ม เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ พลังงานทดแทน ยางพารา บริการฟื้นฟูสุขภาพ และกิจการอื่น ๆ ที่ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

การใช้ประโยชน์ ที่ดิน 1,085.64 ไร่ แยกเป็น 1.พื้นที่ที่ก่อให้เกิดรายได้ 761.95 ไร่ มีเขตอุตฯ 509.94 ไร่ ศูนย์โลจิสติกส์และกระจายสินค้า 227.87 ไร่ และเขตพาณิชยกรรม 21.14 ไร่ 2.พื้นที่ระบบสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวก 267.88 ไร่ 3.พื้นที่สีเขียวและแนวกันชน 55.81 ไร่ มูลค่าพัฒนารวมค่าที่ดิน 1,481 ล้านบาท ต้นทุนที่ดินเฉลี่ย 1.36 ล้านบาท/ไร่ ค่าเช่า 109,550 บาท/ไร่/ปี

5.จ.สระแก้ว ต.ป่าไร่ อ.อรัญประเทศ เป็นพื้นที่ นสล.ในความดูแลของกระทรวงมหาดไทย 690 ไร่ ติดถนนหมายเลข 3397 ห่างชุมชนอรัญประเทศและถนน 3397 ประมาณ 10 กม. ห่างจากจุดผ่านแดนถาวรบ้านคลองลึก 14 กม. ห่างจากพรมแดนไทย-กัมพูชา 5 กม. ปัจจุบันใช้ประโยชน์เพื่อที่อยู่อาศัยและการเกษตร ได้แก่ ปลูกอ้อย มันสำปะหลัง และข้าวโพดประเภทอุตฯเป้าหมาย คือ การให้บริการโลจิสติกส์และศูนย์กระจายสินค้า อุตฯแปรรูปสินค้าเกษตรและอาหาร สิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม พลังงานทดแทน กิจการเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวและกิจการอื่น ๆ ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การใช้ประโยชน์ที่ดิน 690 ไร่ แยกเป็น 1.พื้นที่ที่ก่อให้เกิดรายได้ 527.42 ไร่ เป็นเขตอุตฯ 337.02 ไร่ ศูนย์โลจิสติกส์และกระจายสินค้า 164.95 ไร่ และเขตพาณิชยกรรม 25.45 ไร่ 2.พื้นที่ระบบสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวก 132.52 ไร่ 3.พื้นที่สีเขียวและแนวกันชน 30.06 ไร่ มูลค่าลงทุนรวมค่าที่ดิน 1,101 ล้านบาท ต้นทุนค่าที่ดินกว่า 1.59 ล้านบาท/ไร่ ค่าเช่า 128,239 บาท/ไร่/ปี




"บิ๊กตู่" ดึงญี่ปุ่นลงทุนแบบจัดเต็ม! เหมาเข่งปั้นเขตศก.พิเศษ-รถไฟ-ทวาย





"บิ๊ก ตู่" เยือนญี่ปุ่น 8-10 ก.พ.นี้ ดึงลงทุนในไทยดันเศรษฐกิจโต จัดเต็มเมกะโปรเจ็กต์รถไฟฟ้า รถไฟความเร็วสูง เคาะเส้นทางแนวระเบียงตะวันออก-ตะวันตกด้านล่างทะลุถึงทวาย ใช้เป็นแลนด์บริดจ์เชื่อม "เมียนมาร์-กัมพูชา-เวียดนาม" ปั้นเขตเศรษฐกิจพิเศษให้เป็นจริง เสนอเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำเกทับจีน

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า จากที่ได้หารือกับนายฮิโระโตะ อิซุมิ ที่ปรึกษาพิเศษด้านเศรษฐกิจ ของนายชินโซ อะเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น เบื้องต้นก่อนจะมีการหารือร่วมกันอย่างเป็นทางการระหว่างฝ่ายไทยกับญี่ปุ่น วันที่ 8-10 ก.พ.นี้ ช่วงที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีกำหนดการเดินทางไปเยือนประเทศญี่ปุ่น นอกจากจะกระชับความพันธ์ของทั้ง 2 ประเทศแล้ว ทางการญี่ปุ่นยังแสดงเจตนารมณ์สนใจจะพัฒนาโครงการโครงสร้างพื้นฐาน

ด้านคมนาคมร่วมกับรัฐบาลไทย เช่นเดียวกับที่รัฐบาลจีนได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) รูปแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล (จีทูจี) และพร้อมสนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยพิเศษ ผ่านองค์กรเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (ไจก้า)

เปิดแพ็กเกจข้อเสนอญี่ปุ่น

โดยโครงการโครงสร้างพื้นฐานที่ญี่ปุ่นสนใจลงทุน ประกอบด้วย 1.รถไฟทางมาตรฐาน 1.435 เมตร ความเร็ว 160-180 กม./ชม. เส้นทางแนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตกด้านล่าง (Lower East-West Corridor) 3 เส้นทาง ได้แก่ กรุงเทพฯ-กาญจนบุรี, กรุงเทพฯ-ระยอง และกรุงเทพฯ-อรัญประเทศ ซึ่งโครงการนี้เป็นแลนด์บริดจ์ หรือสะพานเศรษฐกิจเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าทะเลอันดามันกับอ่าวไทย จากท่าเรือทวาย-ท่าเรือแหลมฉบัง และเชื่อมการค้ากับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนจากเมียนมาร์-ไทย-กัมพูชา- เวียดนาม หากได้ข้อสรุปจะลงนามบันทึกแสดงเจตจำนง (MOI) นำไปสู่ข้อตกลงร่วมกันที่จะพัฒนาการขนส่งระบบรางต่อไป

2.ให้เงินกู้ไจก้าก่อสร้างท่าอากาศยาน เช่น สนามบินสุวรรณภูมิ ที่ บมจ.ท่าอากาศยานไทย (ทอท.) มีแผนพัฒนาโครงการ 129,000 ล้านบาท และสนามบินอู่ตะเภา

3.ลงทุนเขตเศรษฐกิจพิเศษ 5 พื้นที่นำร่อง ได้แก่ เขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด จ.ตาก การค้าชายแดนไทย-เมียนมาร์, อรัญประเทศ จ.สระแก้ว ค้าชายแดนไทย-กัมพูชา, มุกดาหาร ค้าชายแดนไทย-ลาว, คลองใหญ่ จ.ตราด ค้าชายแดนไทย-กัมพูชา และด่านสะเดาและปาดังเบซาร์ จ.สงขลา การค้าชายแดนไทย-มาเลเซีย

และ 4.ให้เร่งรัดการจัดหาระบบรถไฟฟ้าในสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต) ที่มีผู้ผลิตญี่ปุ่นเสนอประมูลนานแล้ว ล่าสุดอยู่ระหว่างต่อรองราคา รวมถึงสายสีน้ำเงินต่อขยาย (บางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค)

ที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กำลังคัดเลือกเอกชนมาเดินรถ อีกทั้งขอความร่วมมือญี่ปุ่นให้ผู้ผลิตรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางซื่อ-บางใหญ่) ส่งมอบรถทันตามกำหนดเดือน ก.ย.นี้

เปิดเส้นทางเชื่อม 2 ฝั่งทะเล

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมเปิดเผยว่า ญี่ปุ่นสนใจรถไฟเส้นทางเชื่อมทวาย-กรุงเทพฯ-อรัญประเทศ-ประเทศเพื่อนบ้าน เพราะมองว่ามีศักยภาพที่สุด โดยยุทธศาสตร์การลงทุนของญี่ปุ่น เน้นการพัฒนาประเทศต่อประเทศ ซึ่งเส้นทางนี้จะเชื่อมเมียนมาร์ ผ่านไทย ไปกัมพูชา ทะลุถึงเวียดนาม ที่ท่าเรือดานัง

โดยเส้นทาง "กรุงเทพฯ-อรัญประเทศ" รองรับเขตเศรษฐกิจพิเศษอรัญประเทศ และจะเชื่อมกัมพูชาและเวียดนามในอนาคต ปัจจุบันการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กำลังปรับปรุงเส้นทางจากคลอง 19-สะพานคลองลึก จะแล้วเสร็จปี 2559 และรัฐบาลไทยให้ความช่วยเหลือกัมพูชาเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟบริเวณชายแดน ส่วนเส้นทาง "กรุงเทพฯ-แหลมฉบัง" (ระยอง) เป็นโครงการเชื่อมท่าเรือต่อท่าเรือจากทวายกับแหลมฉบัง หากพัฒนาได้จะเพิ่มปริมาณและขนส่งสินค้าได้เร็วขึ้น ทั้งยังรองรับฐานอุตสาหกรรมของไทยใน จ.ระยองและจันทบุรี มีบริษัทญี่ปุ่นตั้งอยู่จำนวนมาก ซึ่งช่วงนี้ ร.ฟ.ท.ได้ศึกษาโครงการเสร็จแล้ว มีเฉพาะระบบรถไฟความเร็วสูง

สำหรับเส้นทาง "กรุงเทพฯ-กาญจนบุรี" จะรองรับเขตเศรษฐกิจพิเศษที่บ้านพุน้ำร้อน จ.กาญจนบุรี และเขตเศรษฐกิจทวาย ที่รัฐบาลไทย เมียนมาร์ และญี่ปุ่น จะร่วมกันพัฒนา ปัจจุบัน ร.ฟ.ท.กำลังจะจ้างศึกษาความเหมาะสมโครงการจากบ้านพุน้ำร้อน-กรุงเทพฯ

"จุดมุ่งหมายของญี่ปุ่นเพื่อคานอำนาจจีนที่เมียนมาร์ และช่วยหนุนท่าเรือทวายให้แจ้งเกิด รวมถึงดึงบริษัทเอกชนญี่ปุ่นมาลงทุนเขตเศรษฐกิจชายแดน เพื่อรองรับกับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซี ใช้เป็นฐานส่งออกไปยังภูมิภาคได้ ถ้าหากทุนญี่ปุ่นรายใหญ่เข้าไปลงทุน จะดึงดูดนักธุรกิจไทยและต่างชาติเข้าไปลงทุนจำนวนมากด้วย"

ขณะที่รถไฟเส้นทาง "แม่สอด-ตาก-พิษณุโลก-เพชรบูรณ์-ขอนแก่น-มุกดาหาร" ญี่ปุ่นรับไว้พิจารณาเช่นกัน เนื่องจากเป็นเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตกด้านบน เชื่อมเขตเศรษฐกิจพิเศษที่แม่สอดและมุกดาหาร เชื่อมการค้า 4 ประเทศ จากเมียนมาร์-ไทย-ลาว-เวียดนาม แต่ด้วยสภาพพื้นที่พาดผ่านภูเขาเพชรบูรณ์ การก่อสร้างจะซับซ้อนกว่าเส้นทางด้านล่างที่มีเส้นทางรถไฟเดิมอยู่แล้ว

จัดเงินกู้ดอกเบี้ยถูกเกทับจีน

"นอกจากนี้จะให้กู้เงินดอกเบี้ยต่ำผ่านไจก้า ซึ่งรัฐบาลญี่ปุ่นพยายามผลักดันเช่นกัน ที่ผ่านมามีหลายโครงการที่ใช้เงินกู้จากไจก้า เช่น รถไฟฟ้าใต้ดินสายแรก รถไฟฟ้าสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต) ถนน สะพาน อัตราดอกเบี้ยค่อนข้างถูก ก่อนหน้านี้อยู่ที่ 0.75% ต่อปี ล่าสุดปรับเป็น 1.4-1.5% ต่อปี และให้กู้ระยะยาว 30-40 ปี"

ต่ำกว่าจีนที่เสนอให้กู้ระยะยาว 30-40 ปี แต่อัตราดอกเบี้ย 3%

ก่อนหน้านี้ พล.อ.ประยุทธ์เปิดเผยว่า ได้หารือทวิภาคีกับนายกฯญี่ปุ่นแล้ว 2 ครั้ง เมื่อ 16 ต.ค. 2557 ในการประชุมผู้นำ ASEM ครั้งที่ 10 ที่นครมิลาน และ 13 พ.ย. 2557 ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 25 ที่กรุงเนย์ปิดอว์ โดยนายกฯญี่ปุ่นต้องการส่งเสริมความร่วมมือกับไทยในทุกมิติ โดยเฉพาะความร่วมมือระบบราง ได้เสนอความเห็นเกี่ยวกับเส้นทางรถไฟที่มีความเป็นไปได้ คือ เส้นทางตะวันออก-ตะวันตก ได้แก่ กรุงเทพฯ-กาญจนบุรี กรุงเทพฯ-อรัญประเทศ และกรุงเทพฯ-ระยอง

ขณะเดียวกันไทยพร้อมให้ความร่วมมือญี่ปุ่นในทุกระดับ ทั้งโครงการทวาย เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน การส่งเสริมมูลค่าการค้าและการลงทุนระหว่างกัน ในกรอบความตกลงเพื่อความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น ทั้งหมดนี้จะหารือกับนายกฯญี่ปุ่น ในระหว่างการเยือนญี่ปุ่น 8-10 ก.พ.นี้ โดยฝ่ายไทยคาดหวังว่าจะมีการลงนามความร่วมมือระหว่างกัน เพื่อนำไปสู่ความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมในอนาคตอันใกล้

ดีเดย์ มี.ค.เซ็น ITD พัฒนาทวาย

ด้าน ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกฯฝ่ายเศรษฐกิจ เปิดเผยหลังการประชุมคณะกรรมการร่วมระดับสูงระหว่างไทย-เมียนมาร์ เพื่อการพัฒนาพื้นที่ครอบคลุมในเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย และพื้นที่โครงการที่เกี่ยวข้อง ครั้งที่ 2 (JHC) วันที่ 30 ม.ค.ที่ผ่านมาว่า มีเจ้าหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นเข้าร่วมสังเกตการณ์ด้วย ซึ่งครั้งนี้คืบหน้าเป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยการลงทุนโครงการระยะเริ่มต้นจะใช้เวลาพัฒนา 5 ปี ตั้งแต่ปี 2558 มูลค่า 1,700 ล้านเหรียญสหรัฐ บนพื้นที่ 27 ตร.กม. มีสัญญาสัมปทาน 50 ปี และขยายได้ 25 ปี

ขณะนี้อยู่ระหว่างเจรจากับผู้ที่ประมูลได้ คือ กลุ่มอิตาเลียนไทย คาดว่าจะลงนามกันได้ มี.ค.นี้ หลังจากนี้จะมีญี่ปุ่นเข้ามาร่วมด้วย โดยกำลังหารือกันเพื่อชวนเข้าร่วมหุ้นในนิติบุคคลเฉพาะกิจ (SPV) จากที่ญี่ปุ่นแสดงเจตจำนงเข้ามาสนับสนุนโครงการและช่วยเหลือทางด้านเทคนิค และการเงินแล้ว การประชุมครั้งต่อไปจะเห็นความร่วมมือจริงจังมากขึ้น

ทั้งนี้ โครงการถนนเชื่อมทวายกับบ้านพุน้ำร้อน จ.กาญจนบุรี 138 กม. วงเงิน 3,900 ล้านบาท ที่สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) หรือ สพพ. ให้กู้ระยะยาว 20-30 ปี แบบซอฟต์โลน โดยเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กำลังเจรจากับญี่ปุ่นร่วมปล่อยกู้คนละครึ่ง จะทราบผลใน 1 เดือนนี้

นอกจากก่อสร้างถนน ยังมีโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ รวม 7 โครงการ ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมขนาดเล็ก, สถานีรับ-จ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG), ระบบโทรคมนาคม, โรงไฟฟ้าขนาดเล็ก, ท่าเรือขนาดเล็ก และอ่างเก็บน้ำ ล่าสุดกำลังเจรจาสัญญากับกลุ่มอิตาเลียนไทย โดยมีสวนอุตสาหกรรมโรจนะ, บมจ.ผลิตไฟฟ้า หรือเอ็กโก้ และบริษัทแอล เอ็น จี พลัส อินเตอร์เนชั่นแนล จะร่วมกันพัฒนาระยะแรก คาดว่าปี 2559 จะเริ่มขายพื้นที่นิคมได้

สำหรับโครงการทวายทั้งหมดบนพื้นที่ 196 ตร.กม. ขณะนี้จัดทำแผนแม่บทจะใช้เวลาพัฒนาระยะยาว 10-20 ปี รายละเอียดจะชัดเจนสิ้นปีนี้ ส่วนการย้ายชุมชนในพื้นที่เมียนมาร์จะดำเนินการ จากเดิมให้อิตาเลียนไทยดำเนินการ

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมช.คมนาคม และเลขาธิการสภาพัฒน์กล่าวว่า การเจรจาข้อสัญญากับกลุ่มอิตาเลียนไทยคืบหน้าแล้ว 90% จะจบเดือน ก.พ. และลงนามได้เดือน มี.ค. ส่วนหนึ่งเป็นการเจรจาหาข้อสรุปว่าจ่ายชดเชยเงินลงทุนให้อิตาเลียนไทย อาจจะหักกลบลบหนี้โดยให้พื้นที่เพิ่ม หรือให้สัดส่วนถือหุ้นเพิ่ม




วันอาทิตย์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2558

ยักษ์ค้าปลีกแห่ยึดเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด ตลาดชายแดนหมื่นล้านเดือด

ยักษ์ค้าปลีกเคลื่อนทัพบุกเขตเศรษฐกิจพิเศษ "แม่สอด" รับเม็ดเงินจับจ่ายสะพัดหมื่นล้าน "เซ็นทรัล" ส่งโรบินสันบุก "เทสโก้ โลตัส" เพิ่มพื้นที่รับดีมานด์ทะลัก ด้าน "เอ็มบีเค" เอาด้วยเปิดสาขาแรกใน ตจว. "แม็คโคร" ชิงเจาะตลาดเมียนมาร์


ขณะที่หลายหน่วยงานกำลังเดินหน้าโครงการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ ระยะแรก 6 พื้นที่ ประกอบด้วย จ.ตาก สระแก้ว ตราด มุกดาหาร สงขลา และหนองคาย ตามนโยบายรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยเฉพาะแผนเร่งด่วนการผลักดันเขตเศรษฐกิจ 2 แห่งที่แม่สอด จ.ตาก และอรัญประเทศ จ.สระแก้ว ให้เป็นรูปธรรมภายในปีนี้

ส่วนภาคเอกชนเริ่มตื่นตัวเตรียมแผนรองรับ ทั้งกลุ่มทุนใหญ่จากส่วนกลาง ทุนท้องถิ่น นักลงทุนต่างชาติเข้าจับจองซื้อที่ดินขยายฐานธุรกิจ โดยเฉพาะเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอดเพื่อรองรับการค้าการลงทุนตามแนวชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน

กลุ่มเซ็นทรัลส่งโรบินสันบุก

แหล่งข่าวระดับสูงกลุ่มเซ็นทรัลกล่าวกับ"ประชาชาติธุรกิจ"ว่า ตามแผนการลงทุนของกลุ่มเซ็นทรัล ซึ่งให้ความสำคัญในตลาดอาเซียนและเขตเศรษฐกิจพิเศษ รวมถึงจังหวัดที่เป็นการค้าชายแดนหลัก เนื่องจากมีมูลค่าการเติบโตในแต่ละปีมหาศาลและมีการขยายตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะเขตเศรษฐกิจแม่สอด ซึ่งกลุ่มเซ็นทรัลเข้าไปศึกษาตลาดและเตรียมแผนลงทุนเอาไว้ก่อนหน้านี้แล้ว ล่าสุดตัดสินใจจะส่ง "โรบินสัน" เข้าไปลงทุนในรูปแบบไลฟ์สไตล์เซ็นเตอร์ ร่วมกับแม็กเนตในเครือเซ็นทรัล บนพื้นที่ 54,000 ตร.ม.

"โรบินสัน ไลฟ์สไตล์เซ็นเตอร์ แม่สอด กำลังก่อสร้าง ตามแผนงานจะเปิดในปีนี้ ซึ่งตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามโรงแรมเซ็นทารา แม่สอด ฮิลล์ รีสอร์ท"

แหล่งข่าวจากกลุ่มเซ็นทรัลยังขยายความด้วยว่า ช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา เขตเศรษฐกิจแม่สอดมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว มีทั้งคอนโดมิเนียม, โครงการบ้านจัดสรร และอาคารพาณิชย์ เกิดขึ้นทั้งสองฝั่งถนนและเกือบทุกสายในเขตตัวเมืองแม่สอด รวมถึงค้าปลีกทุกรูปแบบที่เตรียมเข้าไปลงทุนเพื่อเปิดตลาดค้าปลีกไทย-พม่า

เทสโก้อัพเกรดสาขารับดีมานด์พุ่ง

นางสาวสลิลลาสีหพันธุ์ รองประธานกรรมการฝ่ายกิจการบรรษัท บริษัท เอก-ชัย ดิสทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัด ผู้บริหารเทสโก้ โลตัส กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า การพัฒนาแม่สอดเป็นเขตเศรษฐกิจจะทำให้การค้าบริเวณนั้นมีความคึกคักยิ่งขึ้น ในแง่ของการดึงดูดนักลงทุนรายใหม่ ๆ เข้ามา และค้าปลีกได้รับอานิสงส์จากการเพิ่มขึ้นของลูกค้า ที่ผ่านมาสาขาที่แม่สอดของเทสโก้ เป็นโมเดลไฮเปอร์มาร์เก็ต และที่ผ่านมาได้อัพเกรดให้เป็นโมเดลเอ็กซ์ตร้า ซึ่งพื้นที่ร้านค้าเช่าทั้งผู้เช่ารายย่อยในท้องถิ่นและแบรนด์ดังที่มองเห็นศักยภาพ และมีลูกค้าจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาจับจ่ายจำนวนมาก สินค้าที่ขายดีหลัก ๆ เป็นกลุ่มสินค้าอุปโภค บริหาร รวมถึงเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องใช้ในบ้าน สินค้าแฟชั่น และยอดซื้อต่อครั้งค่อนข้างจะสูง

"จากนี้ไปแม่สอดน่าจะทำคึกคักยิ่งขึ้น ลูกค้าตามชายแดนข้ามมาซื้อของ ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของท้องถิ่น เทสโก้เปิดร้านในท้องถิ่นมีการจ่ายภาษีท้องถิ่น มีการจ้างงานในพื้นที่"

MBK ผุดค้าปลีก 2 หมื่น ตร.ม.

นายศักดิ์ชัย เก่งกิจโกศล กรรมการผู้จัดการ กลุ่มธุรกิจศูนย์การค้า บริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า มีแผนการลงทุนเพื่อรองรับการเปิดตลาดอาเซียน โดยเฉพาะการขยายธุรกิจค้าปลีกไปยังเขตแนวเศรษฐกิจชายแดนทั้ง 9 เขต อาทิ ตราด ปราจีนบุรี มุกดาหาร และแม่สอด เป็นต้น เนื่องจากเมื่อเปิด เออีซีแล้วจะทำให้ตลาดนี้ใหญ่ขึ้น ส่วนการลงทุนจะเป็นการร่วมทุนหรือพาร์ตเนอร์คนท้องถิ่น ในรูปแบบไลฟ์สไตล์มอลล์ ขนาดพื้นที่ประมาณ 20,000 ตร.ม. ซึ่งโครงการที่แม่สอดจะเป็นแม่แบบก่อนที่จะขยายการลงทุนไปยังเขตเศรษฐกิจอื่น ๆ

"เริ่มที่แม่สอดก่อน เพราะเป็นย่านการค้าชายแดนที่ใหญ่มีเงินสะพัดมากกว่า 10,000 ล้านบาทต่อปี โดยจะใช้แบรนด์เอ็มบีเค ซึ่งเป็นที่รู้จักอยู่แล้ว โดยเฉพาะลูกค้าชาวต่างชาติ และถือว่าเป็นสาขาแห่งแรกในต่างจังหวัดของเอ็มบีเคด้วย"

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อกลางเดือนพฤศจิกายน 2557 ที่ผ่านมา บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) ได้เปิดสาขาแม่สอด จ.ตาก ชายแดนไทยที่มีพรมแดนติดต่อกับจังหวัดเมียวดี ของประเทศเมียนมาร์

นางสุชาดา อิทธิจารุกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การขยายสาขามาที่เมืองชายแดนไทย-เมียนมาร์ ที่ อ.แม่สอด จ.ตาก เป็นสาขาที่ 73 ถือเป็นนโยบายเชิงรุกทางธุรกิจ โดยมองไปที่ตลาดในเมียนมาร์ ทั้งที่ จ.เมียวดี และจังหวัดอื่น ๆ ของเมียนมาร์ ที่จะเดินทางมาจับจ่ายซื้อสินค้า และเล็งเห็นถึงศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจของแม่สอด พื้นที่หน้าด่านธุรกิจการค้า การขนส่งระหว่างประเทศ ที่มีมูลค่าการค้าชายแดนสูงถึงปีละ 50,000-60,000 ล้านบาท

ตจว.-เขต ศก.พิเศษมาแรง

สอดคล้องกับ นางสาวจริยา จิราธิวัฒน์ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย ฉายภาพว่า ภาพรวมธุรกิจค้าปลีกปีนี้ว่าจะสามารถขยายตัวได้ 6.3% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาที่เติบโตได้เพียง 3.2% เท่านั้น หรือเม็ดเงินสะพัด 3 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 2.7 ล้านล้านบาทในปีก่อน ความเคลื่อนไหวที่เด่นชัด คือการลงทุนรองรับตลาดในอนาคต โดยเฉพาะในต่างจังหวัดและพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษที่จะช่วยกระตุ้นตลาดได้ และประเมินว่าภายในปี 2560 สัดส่วนค้าปลีกต่างจังหวัดจะขยับเป็น 72% จากปัจจุบัน 65% และเป็นสัดส่วนกรุงเทพฯ 35%

"ตอนนี้จะยังไม่มีใครบอกและประกาศว่าจะไปปักธงในพื้นที่ใดของเขตเศรษฐกิจพิเศษ เพราะเป็นความลับทางธุรกิจ แต่เชื่อว่าไม่มีใครจะยอมตกขบวนอย่างแน่นอน เพราะเป็นตลาด-โอกาสใหม่ทางธุรกิจ ไม่เพียงกลุ่มลูกค้าในประเทศแถบชายแดน แต่ยังรองรับลูกค้าต่างประเทศที่จะมีเพิ่มขึ้นอีกมหาศาล"

สอดคล้องกับตัวเลขวิจัยพฤติกรรมการจับจ่ายของลูกค้าในตลาดชายแดนนายธีรเดชดำรงค์พลาสิทธิ์ หัวหน้ากลุ่มธุรกิจรีเทลมีเดีย ประเทศไทย บริษัท ดันน์ฮัมบี้ ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า ได้ศึกษาพฤติกรรมซื้อสินค้าผู้บริโภคใน 8 จังหวัดไทยที่รอยต่อติดประเทศเมียนมาร์ กัมพูชา ลาว อาทิ เชียงราย ตาก ระนอง หนองคาย นครพนม มุกดาหาร ศรีสะเกษ และสระแก้ว ระหว่างเดือนตุลาคม 2556 ถึงเดือนกันยายน 2557 พบว่าการจับจ่ายใช้สอยต่อครั้งของผู้บริโภคเฉลี่ยอยู่ที่ 641 บาท เมื่อเทียบกับจังหวัดอื่น ๆ ที่มีการจับจ่ายเฉลี่ย 317 บาท และรายการสินค้าที่นิยมซื้อคือ เสื้อผ้า ของใช้ในบ้าน และอาหารสด เป็นต้น


ที่มา: http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1423811406

พื้นที่เฉพาะเขตศก. พิเศษตาก

เริ่มเห็นภาพชัดขึ้นตามลำดับ สำหรับโครงการเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ  ล่าสุดที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ(กนพ.) ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)เป็นประธาน เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2558 ที่ผ่านมา เห็นชอบพื้นที่และร่างผังพื้นที่เฉพาะเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ 6 จังหวัดในระยะแรก ตามที่คณะอนุกรรมการด้านการจัดหาที่ดินและบริหารจัดการ ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย(มท.1)เสนอ ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 24,800 ไร่ ซึ่งเป็นที่ดินของรัฐ อาทิ ที่ดินสาธารณประโยชน์ ที่อยู่ในความดูแลของกรมที่ดิน ป่าเสื่อมโทรมของกรมป่าไม้ ที่ดินสปก.ของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ที่ดินเอกชนที่ถูกยึดทรัพย์จากสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน(ปปง.) เป็นต้น  เพื่อออกคำสั่งเพิกถอนสถานภาพที่ดินและโอนเป็นที่ราชพัสดุให้กับกรมธนารักษ์ ดูแลให้เอกชนเช่าระยะยาวตามกฎหมายกระทรวงการคลังต่อไป ประกอบด้วยจังหวัดตาก มุกดาหาร ตราด สระแก้ว สงขลา และหนองคาย
หนึ่งในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษที่ได้รับความสนใจ และคาดว่าจะเป็นพื้นที่นำร่อง คือ เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ จังหวัดตาก ที่มีการขีดวงพื้นที่ไว้  14,858 ไร่ เป็นพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมตามมติคณะรัฐมนตรี(ครม.)ที่อยู่ในความรับผิดชอบ ของกรมป่าไม้ ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าสายลวด และตำบลแม่ปะ อำเภอแม่สอด ใกล้กับโครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-เมียนมาร์ แห่งที่ 2 หรือสะพานเมย  2
การออกแบบวางผังพื้นที่เฉพาะเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ จังหวัดตาก  ซึ่งมีกรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย ทำหน้าที่ออกแบบวางผังพื้นที่ (ตามภาพผังประกอบ)ไฮไลต์อยู่ที่พื้นที่สีม่วงขอบชมพูหรือที่ดินประเภท อุตสาหกรรม ซึ่งจะเป็นที่ตั้งของเขตอุตสาหกรรม ตามมติที่ประชุมคณะอนุกรรมการด้านการจัดหาที่ดินและบริหารจัดการ เห็นชอบเป็นพื้นที่พัฒนาเพื่อรองรับอุตสาหกรรมผลิตและแปรรูป ตั้งอยู่ในตำบลท่าสายลวดและตำบลแม่ปะ อำเภอแม่สอด จำนวน 2,639ไร่  เนื่องจากเป็นพื้นที่ปลอดการบุกรุกจากชุมชน
ขณะเดียวกันก็มีการกำหนดพื้นที่สีแดงหรือพื้นที่พาณิชยกรรม ที่จะเป็นย่านการค้า พื้นที่สีเหลือง หรือที่ดินประเภทอยู่อาศัยรวม  จะกำหนดให้เป็นพื้นที่ชุมชน ส่วนพื้นที่สีเขียว หรือที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรมและพื้นที่สีเขียวทะแยงหรือเขียวลายจะ กำหนดให้เป็นพื้นที่อนุรักษ์ ซึ่งบางส่วนอาจจะให้คงเป็นพื้นที่ป่า บางส่วนจะเป็นพื้นที่เกษตร โดยจะให้เน้นท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ซึ่งแต่ละพื้นที่จะมีลักษณะการใช้ที่ดินลักษณะผสมผสาน ส่วนพื้นที่สีน้ำเงินจะเป็นที่ดินประเภทราชการ อย่างไรก็ดี การใช้ที่ดินรัฐตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ก็เพื่อจูงใจนักลงทุนและแก้ปัญหาการปั่นราคาที่ดิน ซึ่งอัตราค่าเช่ากรมธนารักษ์จะกำหนดต่อไป
ส่วนโครงสร้างพื้นฐาน และด่านศุลกากร ที่ประชุมกนพ.ได้เห็นชอบในการดำเนินงานโครงการก่อสร้างทางเลี่ยงเมืองแม่สอด พร้อมสะพานข้ามแม่น้ำเมย แห่งที่ 2 วงเงิน 3,900 ล้านบาท โดยเห็นชอบให้ใช้งบประมาณกลางปี 2538 วงเงิน 500 ล้านบาท ดำเนินการในระยะเริ่มต้น
ด้านมุมมองของเอกชนในพื้นที่ นายประเสริฐ จึงกิจรุ่งโรจน์ เลขาธิการหอการค้าจังหวัดตาก กล่าวว่านับเป็นเรื่องที่ดีที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดตาก ที่อำเภอแม่สอด สามารถเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม อย่างไรก็ดีอยากให้รัฐบาลมองเห็นความสำคัญของคนในพื้นที่ โดยเฉพาะธุรกิจเอสเอ็มอีที่ควรสนับสนุนส่งเสริมก่อนเป็นอันดับแรก ก่อนที่จะมุ่งเน้นให้นักลงทุนจากต่างถิ่นเข้ามาฉกฉวยโอกาสจากสิทธิประโยชน์ ที่จะได้รับ ที่สำคัญหัวใจสำคัญของจังหวัดตาก คือ การค้าชายแดนที่รัฐบาลจะต้องให้ความสำคัญมากกว่าเรื่องของเขตอุตสาหกรรม

ผังพื้นที่เฉพาะเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ จังหวัดตาก  เป็นเพียง 1 ใน 6 ผังของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ  งานนี้ต้องติดตามต่อไปว่า การวางผังพื้นที่เฉพาะในพื้นที่อื่นจะมีหน้าตาอย่างไร

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 35 ฉบับที่ 3,037  วันที่ 22- 25  มีนาคม  พ.ศ. 2558

Payback Period ระยะเวลาคืนทุน

Payback Period
ระยะเวลาคืนทุน


เพื่อหาระยะเวลาคืนทุนตามชื่อ ใช้ประกอบการพิจารณาการลงทุน โดยอาจจะใช้ควบคุมกับเครื่องมือคำนวณทางการเงินชนิดอื่นๆ ด้วย เช่น NPV IRR Payback Period เป็นการหาระยะเวลาที่ได้รับผลตอบแทนในรูปของกระแสเงินสดเข้าเท่ากับกระแสเงินสดจ่ายลงทุน โดยไม่คำนึงถึงเรื่องมูลค่าของเงินตามระยะเวลาเข้ามาเกี่ยวข้อง การคำนวณหาระยะเวลาคืนทุนจึงมองที่กระแสเงินสดรับ ไม่ใช่ตัวกำไรหรือขาดทุนของกิจการ โดย ณ จุดได้ที่ผลสะสมของกระแสเงินสดรับเท่ากับเงินลงทุนในครั้งแรกก็จะได้ระยะเวลาคืนทุนนั้นเอง ลองดูข้อดี และข้อเสีย ของวิธีระยะเวลาคืนทุน











ข้อดีข้อเสีย


  1. คำนวณได้ง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน

  2.  ทำให้ทราบสภาพคล่องของโครงการโดยโครงการที่คืนทุนเร็ว ย่อมมีสภาพคล่องสูงกว่า

  3. เป็นตัววัดความเสี่ยงของโครงการได้ โดยโครงการที่คืนทุนเร็ว ย่อมมีความเสี่ยงน้อยกว่า



  1. ไม่ได้คำนึงถึงกระแสเงินสดภายหลังจากการคืนทุนแล้ว

  2. ไม่ได้คำนึงถึงค่าของเงินในระยะเวลาที่ต่างกันว่ามีค่าไม่เท่ากัน

  3. ไม่คำนึงถึงความสี่ยงของกระแสเงินสดที่จะได้รับในอนาคต

  4. ไม่มีเกณฑ์การตัดสินใจที่บ่งชี้ให้เห็นว่าการลงทุนนั้น ๆ มีส่วนเพิ่มมูลค่าของกิจการอย่าไร


การคำนวณหา Payback Period มีวิธีคำนวณ 2 กรณี

1. กรณีเงินสดสุทธิ (NCF) เท่ากันทุกปี สามารถนำเงินลงทุนครั้งแรกหารกับกระแสเงินสดสุทธิที่ได้รับต่อปีได้เลย
[CP_CALCULATED_FIELDS id="22"]

2. กรณีเงินสดสุทธิ (NFC)ในแต่ละปีไม่เท่ากันจะต้องนำมาหักออกจากเงินลงทุนในแต่ละปีจนกว่ากระแสเงินสดรับจะเท่ากับกระแสเงินสดจ่ายหรือเงินลงทุน หากเกินจากเงินลงทุนต้องนำยอดเงินลงทุนที่ยังติดลบในปีก่อนมาหารกับกระแสเงินสดรับในปีถัดไปแล้วบวกด้วยจำนวนปีโดยไม่รวมปีสุดท้ายที่กระแสเงินสดรับเข้าและทำให้ยอดของเงินลงทุนกลับเป็นบวก อธิบายเช่นนี้ฟังดูยุ่งยาก ลองคำนวณง่ายๆ โดยการใส่ข้อมูลในช่องด้านล่าง อาจจะเห็นภาพการคำนวณที่ชัดเจนขึ้น

วันเสาร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2558

Profitability Ratio อัตราส่วนวัดความสามารถในการทำกำไร

อัตราส่วนวัดความสามารถในการทำกำไรจะมีทั้งหมด 4 ชนิด แต่โดยมากมักจะได้ยินกันแพร่หลายเฉพาะ ROI หรือ ROA และ ROE ซึ่งทั้ง 2 ชนิดนั้นได้กล่าวไปแล้ว สามารถดูย้อนหลังได้จากเมนูด้านบน หัวข้อย่อย "เครื่องคำนวณทางการเงิน" ภายใต้หัวข้อหลัก "Knowsledge" ในครั้งนี้จะเพิ่มเรื่อง Profit Margin on Sale และ เรื่อง BEP Ratio พร้อมโปรแกรมคำนวณให้ทดสอบ ทั้งหมดจะเป็นเรื่องของการวัดประสิทธิภาพในการบริหารงานในการดำเนินงานไม่ว่าจะเป็นสินทรัพย์และหนี้สิน มีการใช้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ในการดำเนินงาน

Profit Margin on Sales
อัตราส่วนกำไรสุทธิต่อยอดขาย


ส่วนของกำไรสุทธิที่นำมาใช้ในการคำนวณจะรวมส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นสามัญหรือส่วนของเจ้าของด้วย
[CP_CALCULATED_FIELDS id="19"]

BEP Ratio : Basic Earning Power
อัตราส่วนกำไรขั้นต้นต่อสินทรัพย์


ส่วนของผลตอบแทนที่นำมาคำนวณจะเป็นกำไรขั้นต้นที่ยังไม่ได้หักภาษีและดอกเบี้ยจ่าย เหมาะสำหรับใช้เปรียบเทียบกิจการที่มีโครงสร้างของเงินทุนและหนี้สินแตกต่างกัน
[CP_CALCULATED_FIELDS id="20"]

ROA or ROI
อัตราส่วนผลตอบแทนจากสินทรัพย์


ROI (Return on Investment) หรือ ROA (Return on Total Assets) อัตราส่วนนี้จะแตกต่างจาก BEP Ratio เนื่องจากใช้กำไรสุทธิ หรือ EBITDA เป็นผลตอบแทนจากสินทรัพย์หลังหักดอกเบี้ยจ่าย และภาษี รายละเอียดเพิ่มเติม
[CP_CALCULATED_FIELDS id="6"]

ROE (Return on Common Equity)
อัตราส่วนผลตอบแทนส่วนของเจ้าของ


อัตราส่วนนี้ต่างจาก ROA หรือ ROI เนื่องจากใช้วัดเฉพาะส่วนของเจ้าของที่ได้รับจากการลงทุน รายละเอียดเพิ่มเติม
[CP_CALCULATED_FIELDS id="9"]

อัตราส่วนการบริหารหนี้สิน Debt Management Ratios

การจัดหาเงินทุนด้วยการก่อหนี้ หรือ Financial Leverage นั้นจะมีผลให้สามารถควบคุมกิจการได้โดยไม่ต้องลงทุนเพิ่ม เพิ่ม/ลดความเสี่ยงจากเงินทุนส่วนของเจ้าของลง โดยการเพิ่ม/ลดความเสี่ยงฝั่งเจ้าหนี้ ได้รับส่วนต่างของการทำกำไรที่ให้ผลตอบแทนได้มากกว่าอัตราดอกเบี้ย แต่จะต้องแบกรับความเสี่ยงในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำและอาจทำให้ผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุนต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยหรือค่าใช้จ่ายจากการก่อหนี้ด้วยเช่นกัน

ในการพิจารณาเกี่ยวกับอัตราส่วนทางการเงินในการบริหารจัดการหนี้สิน จะพิจารณา 3 ประเด็นใหญ่ คือ การจัดหาเงินทุน ความสามารถในการจ่ายชำระดอกเบี้ย และความสามารถในการชำระค่าใช้จ่ายประจำทางการเงิน

อัตราส่วนหนี้สิน
Debt Ratio


ใช้วัดเพื่อดูสัดส่วนการจัดหาเงินทุนจากเจ้าหนี้ หรืออัตราส่วนของหนี้สินทั้งหนี้สินหมุนเวียน และหนี้สินระยะยาว จากสินทรัพย์ทั้งสิ้น จะแสดงความสัมพันธ์ระหว่างหนี้สินกับสินทรัพย์ โดยจะเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม
[CP_CALCULATED_FIELDS id="16"]

ความสามารถในการชำระดอกเบี้ย (TIE)
Ability to Pay Interst (Times - Interest Earned)


แสดงความสามารถในการชำระดอกเบี้ยที่หากมีค่าสูง ความเสี่ยงทางการเงินจะต่ำ เหมาะสำหรับการลงทุนระยะยาว หากเป็นการลงทุนระยะสั้นควรพิจารณาอัตราส่วนในหัวข้อถัดไปเพิ่มเติม
[CP_CALCULATED_FIELDS id="17"]

ความสามารถในการชำระค่าใช้จา่ยประจำทางการเงิน
Ability to Service Debt : EBITDA Corage Ratio


มีประโยชน์สำหรับการลงทุนระยะสั้น เพราะได้รวมค่าใช้จ่ายทางการเงินคงที่ หรือ all fixed financial charges ในการคำนวณ เพิ่มเติมจากการคำนวณหาอัตราส่วนแบบ TIE ที่จะพิจารณาเฉพาะความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ยเท่านั้น ซึ่งควรพิจารณาในเรื่องของค่าใช้จ่ายประจำอื่นๆ นอกจากดอกเบี้ยจา่ยเช่น ค่าเช่าสินทรัพย์ถาวร ที่เป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่ปรากฎเป็นหนี้สินในงบดุล และ EBIT ไม่ได้แสดงถึงกระแสเงินสดทั้งสิ้นที่จะนำมาชำระหนี้ได้ โดยเฉพาะกรณีที่ธุรกิจมีการคิดค่าเสื่อมราคาสูงหรือมีรายจ่ายตัดบัญชี (amortization charges) ด้วย
[CP_CALCULATED_FIELDS id="18"]

อัตราส่วนวัดประสิทธิภาพการใช้สินทรัพย์ ASSET MANAGEMTNE RATIO

ASSET MANAGEMTNE RATIO
อัตราส่วนวัดประสิทธิภาพการใช้สินทรัพย์


ใช้วัดประสิทธิภาพในการบริหารสินทรัพย์รายการต่างๆ ในงบดุลว่าก่อให้เกิดประโยชน์แก่ธุรกิจเพียงใด มีสินทรัพย์มากน้อยเกินไปหรือไม่ โดยค่าที่ได้ทั้งหมดจะนำไปเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมก่อนเป็นอันดับแรก

อัตราการหมุนของสินค้าคงเหลือ
The Inventory Turnover Ratio


แสดงให้เห็นว่าการลงทุนในสินค้าคงเหลือมากเกินไปหรือไม่ ถ้าการหมุนของสินค้าคงเหลือสูงแสดงว่าสินค้าขายได้ง่าย มีสภาพคล่องสูง แต่หากอัตราส่วนนี้ต่ำแสดงว่าลงทุนในสินค้ามากเกินไป อัตราส่วนนี้ใช้ประเมินประสิทธิภาพของสินค้าคงคลังด้วย
[CP_CALCULATED_FIELDS id="12"]

อัตราการเก็บหนี้ถัวเฉลี่ย
DSO: The Days Sales Outstanding


ผลการคำนวณระยะเวลาในการเก็บหนี้ถัวเฉลี่ย (DSO) ทำให้ทราบระยะเวลาการเก็บเงินถัวเฉลี่ยหลังการขายเป็นเงินเชื่อ ซึ่งควรเปรียบเทียบผลการคำนวณ DSO กับเงื่อนไขการขายด้วย
[CP_CALCULATED_FIELDS id="13"]

ในกรณีที่ค่า DSO ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม ควรพิจารณานโยบายการขายเชื่อและระยะเวลาในการให้เครดิตแก่ลูกค้า

อัตราการหมุนของสินทรัพย์ถาวร
The Fix Assets Turnover Ratio


[CP_CALCULATED_FIELDS id="14"]

อัตราการหมุนของสินทรัพย์
The Total Assets Turnover Ratio


ประเมินประสิทธิภาพการใช้สินทรัพย์ทั้งสิ้นเพื่อก่อให้เกิดยอดขาย ทำให้ทราบถึงประสิทธิภาพการใช้สินทรัพย์มากเกินไปหรือไม่ กรณีที่ค่า Total Assets Turnover ต่ำควรตรวจสอบประสิทธิภาพของสินทรัพย์แต่ละประเภทเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริง ต่อไป
[CP_CALCULATED_FIELDS id="15"]

วันศุกร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2558

นโยบายพลังงานไทยเปรียบเทียบนอร์เวย์ ก๊าซ LNG ทางเลือกใหม่ที่ไทยใช้เพิ่มขึ้น

เมื่อเร็วๆ นี้ ผู้บริหารของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน ) นำโดย ดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ประธานบอร์ด บริษัท ปตท. พร้อมด้วย  ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร  และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.  ได้ นำสื่อมวลชนศึกษาดูงานการกำกับกิจการพลังงานเชิงเปรียบเทียบ ที่สหพันธรัฐเยอรมนี, ราชอาณาจักรนอร์เวย์ และราชอาณาจักรสวีเดน   เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและการจัดการเรื่องพลังงาน
ซึ่งคณะเดินทางได้รับฟังบรรยายการสรุปของกระทรวงปิโตรเลียมและพลังงานของประ เทศนอร์เวย์  โดยมี  Mr.Andreas Eriksen  อธิบดีพลังงานและทรัพยากรน้ำ พร้อมด้วยผู้บริหารที่เกี่ยวข้องได้อธิบายถึงภาพรวมของการใช้พลังงานที่ ยั่งยืน การจัดการโครงสร้างพลังงาน, นโยบายการใช้พลังงาน, การใช้ก๊าซเพื่อการขนส่งสาธารณและเรือในรูปของก๊าซ  LNG  ซึ่งพอสรุปได้ว่าประเทศนอร์เวย์และไทยมีความเหมือนและต่างที่สามารถสรุปได้ ดังนี้ คือ ในอดีตนั้นนอร์เวย์เป็นประเทศยากจนในยุโรป ในขณะที่ไทยก็ไม่ใช่ประเทศที่ร่ำรวยในเอเชีย
ในการพัฒนาด้านพลังงานนั้น ทั้งสองประเทศพบปิโตรเลียมในระยะเวลาที่ใกล้เคียงกัน คือ นอร์เวย์พบแหล่งปิโตรเลียมในทะเลเหนือปี 2512  ต่อจากนั้นอีก 4 ปีประเทศไทยก็พบแหล่งปิโตรเลียมในปี 2516 โดยนอร์เวย์จัดตั้งบริษัทพลังงานแห่งชาติชื่อ Statoil ในปี 2515 ส่วนประเทศไทยก็ได้ก่อตั้ง ปตท.ขึ้นในปี 2521 ซึ่งในขณะนั้นนอร์เวย์มีประชากรเพียง 3.9 ล้านคน มีรายได้ต่อคนต่อปี 4,415 เหรียญสหรัฐ และไทยมีประชากรจำนวน 45.5 ล้านคน มีรายได้ต่อคนต่อปี 528 เหรียญสหรัฐ
นอร์เวย์เป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดเล็ก แต่มีความก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมสูง และได้รับการจัดอันดับให้เป็นประเทศที่น่าลงทุนอันดับ 2 ในทวีปยุโรป และอันดับ 9 ของโลก
เดิมนอร์เวย์เป็นประเทศยากจน  อย่างไรก็ดี ปลายปี 2512 มีการค้นพบแหล่งน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติในทะเลเหนือ  ทะเลนอร์เวย์  และทะเลแรเรนส์  ทำให้นอร์เวย์เป็นประเทศรวยภายในพริบตา ตั้งแต่ต้นทศวรรษ 2000 นอร์เวย์เป็นประเทศส่งออกน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติเป็นอันดับ 3 ของโลก แต่รัฐบาลนอร์เวย์ไม่อุ้มราคาน้ำมันในประเทศเหมือนประเทศมหาเศรษฐีน้ำมัน ทั้งหลาย รัฐบาลได้นำกำไรจากค่าน้ำมันมาจัดสรรเป็นสวัสดิการ ทำโครงสร้างพื้นฐาน  การสาธารณสุขฟรี  การศึกษาฟรี ฯลฯ
ปัจจุบัน นอร์เวย์เป็นประเทศที่มีน้ำมันราคาแพงที่สุดในโลก เติมน้ำมัน 1 แกลลอน (3.7 ลิตร) คิดเป็นเงินไทย 300 บาท หรือลิตรละประมาณ 81 บาท เป็นต้น


                 ขณะที่ในประเทศไทยเองมีกระแสการ เรียกร้องของประชาชนให้มีการปฏิรูปของไทยในขณะนี้ จึงน่าจะนำบทเรียนด้านพลังงานเป็นอีกเรื่องสำคัญที่ต้องได้รับการแก้ไขปรับ ปรุง นโยบายด้านพลังงานของประเทศนอร์เวย์มีความน่าสนใจ ซึ่งอาจเป็นประโยชน์ในการนำแนวคิดมาปรับใช้กับนโยบายด้านพลังงานของไทย

ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่าบทเรียนจากนโยบายด้านพลังงานของนอร์เวย์ คือการที่รัฐบาลเลือกที่จะให้ประชาชนใช้เชื้อเพลิงในราคาแพง ถึงแม้จะพบแหล่งน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติในทะเลเหนือก็ตาม ทั้งนี้ เพื่อนำเงินที่ได้จากผู้ใช้เชื้อเพลิงและผลประโยชน์ปิโตรเลียมจากทรัพยากร ของประเทศมาจัดตั้งกองทุน และสะสม จนปัจจุบันนอร์เวย์มีเงินกองทุนจำนวนมหาศาลสำหรับอนาคตของคนรุ่นต่อๆ ไป จนกระทั่งกลายเป็นหนึ่งในประเทศที่ร่ำรวยที่สุดของโลก ในขณะที่ไทยเลือกวิธีนำผลตอบแทนจากปิโตรเลียมมาชดเชยราคาเชื้อเพลิงให้คน รุ่นปัจจุบันได้ใช้ในราคาถูกๆ
ดังนั้น ผลจากนโยบายให้ประชาชนที่ใช้ทรัพยากรปิโตรเลียมของประเทศต้องจ่ายแพงนั้น ส่งผลทางบวกที่ชัดเจนใน 2 มิติ คือ ทำให้การใช้พลังงานในประเทศเกิดประสิทธิภาพสูงสุด และทำให้นอร์เวย์มีเงินกองทุนมหาศาล จนเกิดความมั่นใจได้ว่า แม้ทรัพยากรปิโตรเลียมของประเทศจะมีน้อยลง แต่นอร์เวย์ก็มีกองทุนที่มีศักยภาพในการจัดหาพลังงานมาใช้อย่างไม่เป็นปัญหา แต่อย่างใด
ในทางกลับกัน นโยบายประชานิยมของไทยที่ชดเชยราคาพลังงานให้ต่ำกว่ากลไกตลาดนั้นส่งผลเสีย มากมาย ไม่ว่าปัญหาการใช้พลังงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพ รวมถึงผลพวงที่ทำให้ทรัพยากรปิโตรเลียมของชาติลดน้อยลงรวดเร็วอย่างมีนัย สำคัญ ในขณะที่ประชาชนคนไทยก็ยังคงยากจนอยู่ดังเช่นปัจจุบัน อีกทั้งยังไม่มีความกระจ่างชัดในการหาแหล่งพลังงานใหม่สำหรับลูกหลานไทยใน อนาคต

                ก๊าซ LNG พลังงานทางเลือกที่ไทยจะใช้เพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ คณะสื่อมวลชนและผู้บริหารของ ปตท. ได้เดินทางต่อไปที่เมืองออสโล และกรุงเบอร์เกน  เพื่อดูงานพลังงาน LNG ทางเลือกใหม่ของพลังงานไทย  LNG  เป็นก๊าซธรรมชาติ (เหลว)  (Liquefied Natural Gas ) เป็นก๊าซมีเทนหลังการแปรสถานะเป็นของเหลวแล้ว มีกระบวนการเริ่มจากแยกสิ่งปลอมปนและองค์ประกอบต่างๆ  จากนั้นจึงทำการลดอุณหภูมิลงมาที่ -160 องศาเซลเซียส เพื่อแปรสภาพจากก๊าซเป็นของเหลวที่มีความดันบรรยากาศ ทำให้มีปริมาตรลดลงประมาณ 600 เท่าของสถานะก๊าซ ซึ่งสะดวกต่อการขนส่งทางเรือ หลังจากนั้นก๊าซที่อยู่ในสถานะของเหลวจะถูกนำเข้าสู่กระบวนการเพื่อให้กลับ สู่สถานะของเหลวจะถูกนำเข้าสู่กระบวนการเพื่อให้กลับสู่สถานะก๊าซเช่นเดิม ก่อนส่งไปยังระบบท่องก๊าซต่อไป  ดังนั้น LNG  จะเป็นก๊าซธรรมชาติเหลวที่ไม่มีกลิ่น ไม่มีสี ไม่เป็นพิษ ไม่มี            ฤทธิ์กัดกร่อน และเป็นก๊าซที่มีคุณภาพสะอาด
สำหรับ ปตท.ได้มีการนำเข้าก๊าซ LNG เข้ามาในประเทศตั้งแต่ปี 2554 จนกระทั่งปัจจุบัน โดยมีในปี 56 นำเข้าจำนวน 18 เที่ยวเรือ  คิดเป็น 1.41 ล้านตัน ปี 57 จำนวน  15  เที่ยวเรือ คิดเป็น1.16  ล้านตัน ซึ่งการนำเข้า LNG เข้ามานี้สามารถใช้ในกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้าหรือกระบวนการสันดาปเครื่อง ยนต์ต่ำ  เช่น การขนส่งทางเรือ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม การนำเข้าก๊าซ LNG  ปตท.ต้องมีการลงทุนด้านการดำเนินการที่แตกต่างกัน เช่น การสำรวจและขุดเจาะแหล่งก๊าซธรรมชาติ เพื่อจะนำก๊าซมาสู่ผู้ใช้ โดยส่วนใหญ่การค้นพบก๊าซธรรมชาติจะเกิดขึ้นพร้อมกับการสำรวจน้ำมัน  การแปรสภาพ LNG เป็นสถานะของเหลวเพื่อให้สามารถขนส่งทางเรือได้ ซึ่งจะถูกขนส่งโดยเรือที่ออกแบบพิเศษ  ส่วนการเก็บ LNG  จะเป็นการเก็บแบบพิเศษและแปรสภาพ LNG จากสถานะของเหลวเป็นก๊าซ พร้อมที่จะส่งไปยังจุดหมายปลายทางผ่านระบบท่อก๊าซธรรมชาติ
ทั้งนี้ ระบบการขนส่ง LNG ส่วนใหญ่จะมีระยะทางระหว่างแหล่งผลิตกับตลาดอยู่ห่างไกลเกินกว่า 2,000 กิโลเมตร การขนส่งทางระบบท่อทำได้ยาก และใช้เงินลงทุนสูง ในประเทศที่มีก๊าซธรรมชาติอย่างสมบูรณ์  เช่น ในตะวันออกกลาง  อิหร่าน  และออสเตรเลีย ซึ่งอยู่ห่างจากประเทศไทยนั้น การขนส่งก๊าซธรรมชาติโดยทางเรือจึงเป็นวิธีที่ประหยัดและมีประสิทธิภาพ โดยจะแปรสถานะก๊าซธรรมชาติให้กลายเป็นของเหลว แล้วขนส่งทางเรือที่ออกแบบเป็นพิเศษ ซึ่งภายในบุด้วยฉนวนอย่างดี และตัวเรือหุ้มสองชั้นเพื่อให้เกิดความแข็งแรงและปลอดภัยในการขนส่ง
อย่างไรก็ตาม ในระยะยาวสัดส่วนการจัดหาก๊าซ LNG  ของประเทศไทยจะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นถึงระดับประมาณร้อยละ  59 ของการจัดหาก๊าซฯ ทั้งหมด  ซึ่งไทยอยู่ในระดับที่ 75%  ขณะที่มีการนำเข้าก๊าซจากพม่า 21% และนำเข้าในรูปของ LNG ที่ 4% ซึ่งอนาคตการนำเข้าในรูปของ LNG จะสูงขึ้นเรื่อยๆ ตามความสามารถจัดหาก๊าซฯ จากในประเทศไทย และการนำเข้าก๊าซจากพม่าที่ลดลง ซึ่งคาดว่าในปี 2573 จะมีสัดส่วนจัดหาก๊าซฯ จากในประเทศไทย พม่า และ LNG อยู่ที่  35%, 6% และ 59% ตามลำดับ

Liquidity ratio วัดสภาพคล่องด้วยอัตราส่วนทางการเงิน

สินทรัพย์สภาพคล่อง (Liquid asset) เป็นสินทรัพย์ที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้เร็วโดยราคาไม่ลดลงมากนัก การวิเคราะห์อัตราส่วนจะช่วยวัดสภาพคล่องของกิจการได้ง่าย การใช้อัตราส่วนวัดสภาพคล่อง (Liquidity Ratio) จะเป็นอัตราส่วนที่แสดงความสัมพันธ์ของเงินสด และสินทรัพย์หมุนเวียนอื่นๆ ของกิจการกับหนี้สินหมุนเวียน มี 2 ชนิดที่นิยมใช้กัน Current Ratio และ Quick Ratio โดยค่าที่ได้จะนำไปเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมเดียวกันก่อนเป็นอันดับแรกก่อนจะนำไปเปรียบเทียบระหว่างบริษัท
สินทรัพย์หมุนเวียน: เงินสด,หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด,ลูกหนี้การค้า,สินค้าคงเหลือ
หนี้สินหมุนเวียน: เจ้าหนี้การค้า,ตั๋วเงินจ่ายระยะสั้น,ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย,หนี้สินระยะยาวที่ครบกำหนดชำระในเวลา 1 ปี

อัตราส่วนหมุนเวียน: ความสามารถในการชำระหนี้สินระยะสั้นที่ครบกำหนดชำระ
Current Ratio : Ability to Meet Short - Term Obligations


อัตราส่วนนี้จะแสดงให้ทราบว่ามีความสามารถในการชำระนหี้สินหมุนเวียนมากน้อยเพียงไร
[CP_CALCULATED_FIELDS id="10"]

อัตราส่วนหมุนเร็ว
Quick or Acid Test Ratio


สำหรับวัดความสามารถในการชำระหนี้สินหมุนเวียนเช่นเดียวกับ Current Ratio โดยไม่ต้องขายสินค้าคงเหลืออยู่ เพราะถือว่าสินค้าคงเหลือเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนที่มีสภาพคล่องต่ำที่สุด Quick Ratio จึงวัดสภาพคล่องได้ดีกว่า Curren Ratio
[CP_CALCULATED_FIELDS id="11"]

เมื่อกล่าวถึง LIQUIDITY RATIO ทำให้ให้นึกถึง LIQUIDITY TRAP กับดักสภาพคล่อง ที่มักจะเอ่ยถึงทุกครั้งที่ประเทศใดประเทศหนึ่งลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยปกติหากมีการลดดอกเบี้ยก็เพื่อต้องการให้เงินหมุนเวียนในระบบ เกิดการจับจ่ายใช้สอย หรือการลงทุน แต่ประชาชนหรือนักลงทุนกลับนำไปเก็บออมไว้แทน เพราะขาดความเชื่อมั่น ทำให้เกิดกับดักสภาพคล่อง และเมื่ออุปสงค์ลดลง แต่ราคาสินค้าไม่ลดลงตาม อาจจะเนื่องจากปัจจัยการผลิต ทำให้ค่าครองชีพเพิ่มขึ้น อาจทำให้เกิดปัญหากับภาวะเงินเฟ้อสูงแต่เศรษฐกิจไม่เติบโต หรือ Stagflation

ศูนย์วิจัยกสิกร หั่นคาดการณ์ GDP ปี 58 เหลือแค่ 2.8%

ศูนย์วิจัยกสิกรฯ จัดหนักหั่นคาดการณ์ GDP ไทยปี 58 เหลือโตแค่ 2.8% จากเดิมที่คาดไว้ 4% แม้เศรษฐกิจจะมีทิศทางปรับตัวดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา แต่เป็นการฟื้นตัวช้ากว่าที่เคยคาดการณ์เอาไว้

นางพิมลวรรณ มหัจฉริยวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด กล่าวว่า ได้ปรับลดอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจไทยปีนี้เติบโตร้อยละ 2.8 จากเดิมคาดว่าโตร้อยละ 4 ซึ่งเป็นการปรับลดลงมากถึงร้อยละ 1.2 เศรษฐกิจฟื้นตัวล่าช้า โดยครึ่งปีแรกโตร้อยละ 3.5 และอ่อนลงเหลือโตร้อยละ 2 โดยมีปัจจัยสำคัญที่ดึงจีดีพีลง คือ การส่งออกมีแนวโน้มหดตัวแรงกว่าที่คาดตลอด 3 เดือนแรก ส่งผลให้ไตรมาสแรกอาจติดลบร้อยละ 3.9 ซึ่งเป็นผลมาจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัวและการดิ่งลงของราคาโภคภัณฑ์ ทำให้ทั้งปีการส่งออกไม่ขยายตัว จากเดิมคาดโตร้อยละ 3.5 ซึ่งการส่งออกที่ไม่เติบโตมีผลฉุดจีดีพีลงร้อยละ 1

นอกจากนี้ การบริโภคภาคเอกชน แม้จะได้ผลดีจากราคาพลังงานที่ลดลง แต่ยังไม่สามารถชดเชยความอ่อนแอของกำลังซื้อในกลุ่มเกษตรกรและภาระหนี้ครัว เรือนที่ยังสูง คาดปีนี้อยู่ที่ร้อยละ 88-89 ของจีดีพี กดดันการบริโภค ทำให้การบริโภคภาคเอกชนโตเพียงร้อยละ 2 มีผลต่อจีดีพีหายไปอีกร้อยละ 0.6 ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนโตเพียงร้อยละ 5 โดยเอกชนรอสัญญาณฟื้นตัวทางเศษฐกิจและการลงทุนของภาครัฐที่ชัดเจนมากขึ้น โดยการเบิกจ่ายของรัฐบาลยังต่ำกว่าเป้าหมาย โดยเฉพาะงบลงทุนมีอัตราการเบิกจ่ายเพียงแค่ร้อยละ 21.8 ซึ่งคาดหวังว่าครึ่งปีหลังการเบิกจ่ายภาครัฐจะดีขึ้น จากงบการลงทุนสร้างถนนตามจังหวัดต่าง ๆ ส่งผลให้การลงทุนภาครัฐโตร้อยละ 6.8 และเป็นตัวผลักดันการขยายตัวของเศรษฐกิจในครึ่งปีหลัง

ทั้งนี้ ต้องจับตาการฟื้นตัวของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ระยะข้างหน้า ซึ่งอาจจะช่วยให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวดีขึ้น และจะเป็นผลบวกต่อส่งออกไทย และจับตาสถานการณ์ราคาน้ำมัน ซึ่งราคาน้ำมันดิบดูไบปีนี้ อยู่ที่ 60 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล

นายเชาว์ เก่งชน กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด กล่าวว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีแนวโน้มจะปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีกจากปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 1.75 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ประกอบกับธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ยังไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยเงินดอลลาร์มีแนวโน้มแข็งค่าต่อเนื่อง ทำให้เงินบาทอ่อนค่าคาดเคลื่อนไหว 34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

วันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2558

คำนวณจำนวนเงินผ่อนชำระต่อเดือน EMI

จำนวนเงินผ่อนชำระต่อเดือน (EMI) คืออะไร
EMI (Equated Monthly Installment) คือยอดผ่อนชำระที่เท่าๆ กันที่คุณจะต้องชำระคืนกับยอดสินเชื่อ ซึ่ง EMI จะรวมดอกเบี้ยและเงินต้นเข้าด้วยกัน ในระหว่างระยะเวลาที่ชำระคืน ยอด EMI จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงถ้าดอกเบี้ยไม่เปลี่ยนแปลง แต่อย่างไรก็ตาม การแยกระหว่างดอกเบี้ยกับเงินต้น ทำให้EMI ไม่คงที่ ดังนั้นเมื่อเริ่มต้นของสินเชื่อ ยอดดอกเบี้ยจะสูงในขณะที่เมื่อเวลาผ่านไปนานมากขึ้น จำนวนเงินต้นก็จะลดลง ทำให้ดอกเบี้ยที่เกี่ยวข้องลดลงไปด้วย

*เปลี่ยนแปลงรายละเอียดในช่องข้อมูลจะเปลี่ยนเองอัตโนมัติ

[mortgage-calculator]

ลองเปลี่ยนมุมมองและแง่คิดโดยการเปลี่ยนสถานะของตัวเองจากผู้ขอสินเชื่อเป็นผู้อนุมัติสินเชื่อโดยยังคงสถานะเป็นผู้ครอบครองอสังหาฯ จนกว่าจะปล่อยขาย บางทีอาจจะได้วิธีการบริหารจัดการอสังหาฯ ในสไตล์ของตัวเองขึ้นก็ได้

 

คำนวณ ROE วัดความสามารถในการทำกำไรจากการก่อหนี้ดอกเบี้ยขาลง

เมื่อ กนง. ลดดอกเบี้ยนโยบายลง และธนาคารพาณิชย์ก็จะเริ่มจัดขบวนพาเหรดจัดเคมเปญสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำออกมา ติดอยู่ก็เพียงแต่ในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวแม้จะมีความพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจจากรัฐบาลชุดนี้ และหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับที่สูงจากการก่อหนี้ก่อนหน้านี้ ไม่ว่าจะเป็นโครงการรถคันแรก หรือภาวะที่ค่าครองชีพถีบตัวสูง จึงอาจจะทำให้สถาบันการเงินค่อนข้างเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ จึงเป็นเรื่องที่ควรจะให้ความสนใจเกี่ยวกับ ROE ที่โดยส่วนมากมักจะมองเพียงสูงหรือต่ำ หรือเปรียบเทียบกับ ROA หรือ ROI ทั้งที่จริงการเปรียบเทียบในลักษณะเพียงแค่สูงหรือต่ำก่อนจะวัดจาก ROI  ROA  ROE ทุกตัวต้องวัดกับ..ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม ก่อนเป็นอันดับแรก

25 มีนาคม 2558
วันนรัตน์

ROE (Return on Equity) เป็นอัตราส่วนทางการเงินอีกชนิดที่ใช้ในการการวัดความสามารถในการทำกำไร ผลลัพธ์จากการคำนวณจะออกมาในรูปของเปอร์เซ็นต์เพื่อเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม ซึ่งมีความคล้ายกับการคำนวณ ROA หรือ ROI แตกต่างกันในส่วนของทุน โดย ROA หรือ ROI จะพิจารณาจากสินทรัพย์รวม แต่สำหรับ ROE จะพิจารณาในส่วนของแหล่งที่มาของทุนเป็นสำคัญ ไม่ว่าจะหาทุนมาจากการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน การออกหุ้นกู้ ออกหุ้นเพิ่มทุน ภายหลังจากการดำเนินงานจะประเมินผลภายหลังที่หักภาษีและดอกเบี้ยแล้วเป็นกำไรสุทธิ จะทำให้ทราบว่ามีการบริหารจัดการทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่

โดยเมื่อเปรียบเทียบค่าของ ROA หรือ ROI กับ ROE แล้วจะเห็นความแตกต่างและความสัมพันธ์ที่จะบ่งชี้ให้ทราบว่ามีการใช้ทุนจาก การกู้ยืมมากน้อยเพียงใด และสามารถนำทุนดังกล่าวสร้างผลตอบแทนได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่

กรณีที่ไม่มีการกู้ยืม ROI หรือ ROA จะมีค่าเท่ากับ ROE ต่อเมื่อมีการกู้ยืม ทุนบางส่วนมาจากการกู้ยิม การคำนวณ ROE จึงต้องนำ ROA หรือ ROI มาคูณด้วยอัตราส่วนสินทรัพย์ต่อส่วนของเจ้าของ (equity multipier) โดยจะนำสินทรัพย์ทั้งหมดมาหารด้วยส่วนของเจ้าของ ROE = ROA × equity multipier ซึ่งอาจจะคำนวณโดยตรงจาก ดังนี้


[CP_CALCULATED_FIELDS id="9"]

ได้ ROE แล้วลองคำนวณ ROI เพื่อเปรียบเทียบ

[CP_CALCULATED_FIELDS id="6"]

ปัญหาเกี่ยวกับ ROE

ต่อคำถามที่ว่า ถ้าบริษัทมี ROE สูงขึ้นแล้วจะทำให้ความมั่งคั่งของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้นด้วยหรือไม่ คำตอบ คือ ไม่จำเป็น (แม้ว่าโดยทั่วไปแล้ว ROE กับความมั่งคั่งจะมีความสัมพันธ์กันและถูกนำมาใช้กันอย่างกว้างขวาง) ถ้าใช้ ROE เพียงอย่างเดียวเพื่อวัดผลการดำเนินงานแล้วอาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้

1. ROE ไม่ได้คำนึงถึงความเสี่ยง ขณะที่ผู้ถือหุ้นต้องการผลตอบแทนแต่ในขณะเดียวกันก็ต้องพิจารณาเรื่องความเสี่ยงด้วย

2. ROE นั้นไม่ได้พิจารณาจำนวนเงิน แต่คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ เพื่อให้มองเห็นภาพที่ชัดเจนขึ้นอาจจะลองมองที่ 90% ของ จำวนเงิน 100 บาท เปอร์เซ็นต์สูงแต่เมื่อคิดเป็นจำนวนเงินเท่ากับ 90 บาท แต่ 20% ของเงินจำนวน 1,000 บาท ให้เปอร์เซ็นต์ต่ำแต่เมื่อคิดเป็นจำนวนเงินเท่ากับ 200 บาท

3. การมองเฉพาะ ROE ที่มีค่าสูง  อาจทำให้พลาดโอกาสในการลงทุนโครงการที่ดี เพราะกลัวการลงทุนโครงการใหม่ที่มี ROE ต่ำจะกดให้ ROE รวมของตัวเองต่ำลง

เหตุผลจากการที่ ROA จะสูงหรือต่ำขึ้นกับ Profit Margin กับ Assets Turnover ดังนั้น ในกรณีที่  ROA  มีค่าสูงกว่าอัตราดอกเบี้ย ROE ก็จะยิ่งสูงกว่า ROA ชี้ให้เห็นว่ากำไรที่เกิดขึ้นเป็นการใช้ทรัพย์สินอย่างมีประสิทธิภาพ หรือเกิดจากการใช้ข้อได้เปรียบจากการก่อหนี้ในสภาวะที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากมีการพิจารณาเรื่องทุนในส่วนของกู้ยืม จึงต้องพิจารณาในส่วนของความสามารถในการชำระหนี้ ซึ่งเป็นอัตราส่วนทางการเงินอีกชนิดที่ใช้ในการวัดสภาพคล่อง รวมทั้งการวัดความสามารถในการการบริหารหนี้สิน และการประเมินเรื่องความเสี่ยงและขนาดของโครงการควบคู่ไปด้วย

อัตราส่วนทางการเงินเหล่านี้ใช้วิเคราะห์งบการเงินเพื่อคาดการณ์ผลจากการลงทุนในอนาคต และประเมินผลโครงการที่ลงทุนเพื่อปรับปรุงและแก้ไข หากไม่เบื่อกันไปเสียก่อนและคิดว่ามีประโยนชน์จะทะยอยนำเสนออัตราส่วนทางการเงินชนิดอื่นๆ เพิ่มเติมในภายหลัง พร้อมโปรแกรมคำนวณ เพื่อเชื่อมโยงอัตราส่วนทางการเงินทั้งหมดเข้าด้วยกันเป็นแผนภูมิ และสมการ Du Pont ที่จะทำให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนชนิดต่างๆ ใช้ในการประเมินผลการดำเนินงาน นอกจากจะช่วยพิจารณาเลือกลงทุนแล้วยังสามารถค้นหาจุดบกพร่องเพื่อปรับปรุงและแก้ไขให้ตรงประเด็นได้อีกด้วย

แอร์พอร์ตลิงก์วางแผนซื้อรถเพิ่ม-ขอเดินรถต่อขยายไปดอนเมือง

แอร์พอร์ตลิงก์ลุ้น ร.ฟ.ท.เร่งสรุปแยกทรัพย์สินแอร์พอร์ตลิงก์ เผยล่าสุดยังไม่คืบ “วุฒิชาติ” โยนอนุฯ กม.ดู “รักษาการซีอีโอ” เผยเตรียมแผนซื้อรถเพิ่มอีก 2 ล็อต 4 ขบวน รวม 11 ตู้ รวมกับของเดิม 9 ขบวน และที่อยู่ระหว่างจัดหา 4 ขบวน คาดรับผู้โดยสารได้ 1.4 แสนคน/วัน พร้อมเจรจาคมนาคมขอรับเดินรถส่วนต่อขยายช่วงพญาไท-ดอนเมือง เพื่อเดินรถต่อเนื่อง ชี้ได้ประโยชน์มากกว่าเปิดให้เอกชนร่วมลงทุน PPP

นายภากรณ์ ตั้งเจตสกาว รักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (ซีอีโอ) บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด (ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการแบ่งแยกทรัพย์สินจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ว่า บริษัทได้ทำหนังสือถึง ร.ฟ.ท.เมื่อวันที่ 9 มกราคม 58 รายงานถึงรูปแบบการดำเนินงานในอนาคต และคณะทำงานร่วมได้ประชุมเมื่อวันที่ 28 มกราคม 58 ล่าสุดนายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าฯ ร ร.ฟ.ท.ส่งเรื่องให้อนุฯ ด้านกฎหมายพิจารณาก่อนนำเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท. ที่มีนายออมสิน ชีวะพฤกษ์ เป็นประธาน หลังจากนั้นจะต้องเสนอไปที่กระทรวงคมนาคม กระทรวงการคลัง และซูเปอร์บอร์ด ซึ่งต้องใช้เวลาอีกระยะ ซึ่งบริษัทอยากให้ ร.ฟ.ท.เร่งรัดการพิจารณา เนื่องจากการแยกทรัพย์สินจะทำให้การบริหารงานของแอร์พอร์ตลิงก์มีความคล่อง ตัวมากขึ้น สามารถดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง และซ่อมบำรุงเองไม่ล่าช้าจนกระทบต่อการให้บริการ

ทั้งนี้ การแบ่งแยกทรัพย์สินนั้นจะโอนขบวนรถที่ใช้งานอยู่ปัจจุบัน (ชุดที่ 1) พร้อมอุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ จำนวน 9 ขบวน (รถไฟฟ้าด่วน หรือ Express Line 4 ขบวน รถไฟฟ้าธรรมดา หรือ City Line 5 ขบวน) มูลค่า 5,882.66 ล้านบาท จะทำให้บริษัทฯ มีทุนประมาณ 6,022.66 ล้านบาท และมีหนี้สิน 1,860 ล้านบาท ซึ่งมติ ครม.เมื่อวันที่ 27 กันยายน 54 ให้กระทรวงการคลังค้ำประกันเงินกู้นำมาใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน (ยังไม่ได้ดำเนินการ) โดย ร.ฟ.ท.ยังคงเป็นเจ้าของโครงสร้างพื้นฐาน ราง รางวิ่ง และสถานี ที่ดิน ระบบอาณัติสัญญาณ ระบบไฟฟ้า ระบบโทรคมนาคม เครื่องจักรกล โรงซ่อม ระบบสายพานลำเลียงกระเป๋า ระบบเช็กอิน ซึ่งหลังจากแบ่งแยกทรัพย์สินแล้ว บริษัทฯ จะรับผิดชอบการลงทุนใหม่เพิ่มเติม รับภาระค่าใช้จ่ายและบำรุงรักษาทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับการเดินรถ รับรู้รายได้เอง

โดยตามแผนหลังแบ่งแยกทรัพย์สิน บริษัทฯ จะรับผิดชอบเงินกู้ในการจัดหาขบวนรถไฟฟ้าธรรมดา 4 ขบวน ขบวนละ 4 ตู้ (ชุดที่ 2) พร้อมอะไหล่ วงเงิน 4,854 ล้านบาท ซึ่งอยู่ระหว่างจัดซื้อ โดยจะรองรับจากเดิมเฉลี่ย 45,000 คนต่อวัน เป็น 96,600 คนต่อวัน และคาดว่าจะรองรับไปจนถึงปี 2568 และจัดหารถไฟฟ้าเพิ่มเติมชุดที่ 3 เป็น City Lone แบบ 7 ตูั 3 ขบวน วงเงิน 4,582 ล้านบาท ในปี 59 และ Express Line แบบ 4 ตู้ 1 ขบวน วงเงิน 570 ล้านบาท ในปี 74 โดยอนาคตจะจัดรถบริการแบบขบวนละ 7 ตู้ คาดว่าจะรับโดยสารได้ 1.4 แสนคนต่อวัน มีรายได้ประมาณ 1,834 ล้านบาทต่อวัน ซึ่งหากสามารถแบ่งแยกทรัพย์สินแล้วเสร็จภายในปี 58 และดำเนินการซื้อรถได้ตามแผน จะทำให้บริษัทฯ มีจุดคุ้มทุนในปี 62โดย Ebitda จะอยู่ที่ประมาณ 136 ล้านบาท

นายภากรณ์กล่าวว่า ขณะนี้บริษัทฯ ได้ค่าจ้างเดินรถจาก ร.ฟ.ท. 380 ล้านบาทต่อปี โดยแอร์พอร์ตลิงก์มีรายได้ประมาณ 570 ล้านบาทต่อปีต้องส่งให้ ร.ฟ.ท.ทั้งหมด ส่วนค่าใช้จ่ายรวมมีประมาณ 900 ล้านบาท ทำให้ ร.ฟ.ท.ต้องรับภาระขาดทุนไปด้วย ในขณะที่แนวโน้มการเติบโตของผู้โดยสารและรายได้เพิ่มขึ้นปีละไม่ต่ำกว่า 10% แต่ปัญหาคือ ขบวนรถให้บริการไม่เพียงพอต่อความต้องการ ซึ่งหากสามารถจัดหารถมาได้เร็วจะทำให้โครงการประสบความสำเร็จแน่นอน ซึ่งบริษัทฯ ได้เสนอกระทรวงคมนาคมเพื่อขอเป็นผู้เดินรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรลลิงก์ ช่วงพญาไท-ดอนเมือง ระยะทาง 21.8 กิโลเมตร เนื่องจากจะทำให้การเดินรถมีความต่อเนื่อง เป็นไปตามนโยบายรัฐบาล และเชื่อมต่อ 3 สนามบินได้ในอนาคต

“ตอนนี้มีนโยบายเน้นเรื่องรูปแบบ PPP คือ รัฐและเอกชนลงทุนร่วมกัน (Public private Partnership) เพื่อให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนในระบบรางเพื่อลดภาระภาครัฐ แต่แอร์พอร์ตลิงก์มีศักยภาพในการเดินรถเอง ซ่อมเองแล้ว จึงอยากให้พิจาณาเดินรถในส่วนต่อขยายด้วย ซึ่งจะเกิดประโยชน์มากกว่า ส่วนรถไฟชานเมืองสายสีแดง ตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิต บริษัทเคยเสนอขอเดินรถ แต่ผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท.คนใหม่ปรับแนวคิดว่า ร.ฟ.ท.จะเดินรถเอง”

วันพุธที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2558

เร่งลงทุน 1.09 แสนล้านพัฒนาอีสเทิร์นซีบอร์ด ผุดมอเตอร์เวย์พัทยา-มาบตาพุด ตอกเข็มปลายปี 58

คณะกรรมการพัฒนาอีสเทิร์นซีบอร์ดเร่งแผนพัฒนา โครงข่ายคมนาคม 7 ปี วงเงินกว่า 1.09 แสนล้าน รองรับพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก พร้อมไฟเขียวลงทุนมอเตอร์เวย์ สายพัทยา-มาบตาพุด 2.02 หมื่นล้าน โดยใช้กองทุนค่าธรรมเนียมมอเตอร์เวย์ “คมนาคม” เตรียมชง ครม.อนุมัติประมูล เริ่มก่อสร้างปลายปี 58

       พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเล ตะวันออก (กพอ.) ครั้งที่ 1/2558 วันนี้ (23 มี.ค.) ว่า ที่ประชุมได้ติดตามเร่งรัดแผนงานโครงการที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากพื้นที่ภาคตะวันออกมีความสำคัญทั้งเป็นชุมชนที่อยู่อาศัย แหล่งท่องเที่ยว และนิคมอุตสาหกรรม ดังนั้นต้องวางแผนและบริหารจัดการเพื่อแยกการใช้พื้นที่และการจัดโครงข่าย ด้านคมนาคมขนส่งให้เกิดการเชื่อมโยงทั้งทางถนน, ทางราง, ทางน้ำ เพื่อมีความปลอดภัยสูงสุดและดูแลผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้วย พร้อมกันนี้ได้มอบหมายให้ทางสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ (สศช.) และสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ตรวจสอบข้อมูลการพัฒนาท่าอากาศยานอู่ตะเภาและท่าอากาศยานตราด เพื่อนำเสนอที่ประชุมในการประชุมครั้งหน้าเพื่อนำมาเพิ่มในแผนการพัฒนาใน ส่วนของการขนส่งทางอากาศ

“พื้นที่ภาคตะวันออกมีความสำคัญหลายมิติ จะต้องวางแผนการพัฒนาเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเรื่องตกค้างมา 6-7เดือน จึงต้องเร่งติดตาม โดยจะเพิ่มโครงข่ายทางอากาศ ซึ่งขณะนี้กระทรวงคมนาคมได้ร่างข้อตกลง MOC ร่วมกับกองทัพเรือเพื่อลงนามร่วมกันในการจัดทำแผนแม่บทพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา ต่อไป ส่วนสนามบินตราด ซึ่งเป็นของเอกชนนั้นจะต้องมาดูศักยภาพในปัจจุบันเพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนา ต่อไป” พล.อ.อ.ประจินกล่าว

ด้านนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ที่ประชุม กพอ.มีมติเห็นชอบแผนโครงข่ายคมนาคมขนส่งทางบก น้ำ ราง (ไม่รวมโครงการรถไฟทางคู่ ขนาด 1.435 เมตร) วงเงินลงทุนรวม 1.09 แสนล้านบาท (2558-2564) ซึ่งยังไม่รวมขนส่งทางอากาศ โดยที่ประชุมได้เห็นชอบโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) สายพัทยา-มาบตาพุด ระยะทาง 32.10กิโลเมตร มูลค่า 20,200 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าก่อสร้าง 14,200 ล้านบาท และจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 6,000 ล้านบาท โดยให้ใช้เงินจากกองทุนค่าธรรมเนียมผ่านทางมอเตอร์เวย์มาเป็นค่าก่อสร้าง ซึ่งหลังจากนี้กระทรวงคมนาคมจะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่ออนุมัติ โดยจะเร่งเปิดประกวดราคาและเริ่มก่อสร้างโครงการภายในปลายปี 2558

ทั้งนี้ แผนงานพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งในพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก นั้นเป็นส่วนหนึ่งที่กำหนดไว้ในแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้าน คมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ. 2558-2565 ซึ่งจะมีจำนวน 91 โครงการ วงเงินรวม 109,913.81 ล้านบาท ประกอบด้วย โครงข่ายถนน 65 โครงการ วงเงิน 82,764.48 ล้านบาท ทางน้ำ 18 โครงการ วงเงิน 7,915.76 ล้านบาท ระบบราง 8 โครงการ วงเงิน 19,233.57 ล้านบาท

โดยระบบรางนั้น ขณะนี้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) อยู่ระหว่างการประกวดราคาทางอิเล็กทรอนิกส์ (อี-ออกชัน) โครงการรถไฟทางคู่ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย และช่วงบุใหญ่-แก่งคอย พร้อมทางคู่เลี่ยงเมือง (Chord Lines) 3 แห่ง วงเงิน 11,348.35 ล้านบาท

“คลัง” ลั่นเดินหน้าภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ย้ำไม่แยกภาษีบ้านและที่ดินออกจากกัน

รมว.คลัง ลั่นเดินหน้าภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยไม่แยกภาษีบ้านและที่ดินออกจากกัน เตรียมหารือคณะกรรมการปฏิรูปภาษีเพิ่มต้นเดือนเมษายนนี้

นายสมหมาย ภาษี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ตราบใดที่ยังดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังยังเดินหน้าศึกษาแนว ทางการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ยืนยันไม่ได้แบ่งแยกการจัดเก็บภาษีที่ดินออกจากที่อยู่อาศัย เพราะบ้านปลูกในที่ดิน จึงต้องประเมินภาษีร่วมกันตามที่มีกระแสข่าวออกมา เนื่องจากนโยบายการลดปัญหาความเหลื่อมล้ำให้ได้ผลดี จึงต้องจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เพราะจะเก็บรายได้ภาษีจากคนรวยที่มีทรัพย์สินมาใช้ประโยชน์ได้ดีกว่าภาษีการ รับมรดก

นายสมหมาย กล่าวว่า รัฐบาลไม่ได้มุ่งหารายได้เพียงอย่างเดียว เพราะรัฐบาลชุดปัจจุบันไม่ได้เป็นผู้จัดเก็บภาษี แต่กว่ากฎหมายจะบังคับใช้ต้องรอการประเมินราคาที่ดินทั่วประเทศ 20 ล้านแปลง และกฎหมายบังคับใช้หลังจากกฎหมายผ่านสภาไปอีก 1-2 ปี โดยเตรียมหารือเพิ่มกับคณะกรรมการปฏิรูปภาษีในช่วงต้นเดือนเมษายนอีกรอบ เพราะต้องการรับฟังความเห็นจากหลายส่วนนำมาปรับใช้ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม กระทรวงการคลังยังยึดหลักการจัดเก็บภาษีแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ดิน พร้อมที่อยู่อาศัย และที่ดินเพื่อการเกษตร จะได้รับการยกเว้นและดูแลอย่างมาก เช่น ที่ดิน 20-30 ไร่ จะไม่เสียภาษี บ้านมูลค่า 4 ล้านบาท เสียภาษีปีละ 1,500 บาท หรือประมาณกว่า 1,000 บาทต่อเดือน นับว่าเป็นภาระเท่ากับที่ชาวบ้านเสียค่าบริการเคเบิ้ลทีวี มองว่าเป็นภาระที่ไม่สูงมาก

นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มอาคารพาณิชย์ หรือที่ดินนำมาประกอบการเชิงพาณิชย์ต้องจัดเก็บแยกเป็นอีกกลุ่ม แต่จะไม่สูงเท่ากัน อัตราเดิมในปัจจุบันที่จ่ายร้อยละ 12.5 ส่วนอีกกลุ่มเป็นที่ดินว่างเปล่า จะเก็บภาษีเป็นช่วงเวลา หากใน 3 ปีแรกไม่ดำเนินการอะไรปล่อยให้ว่างเปล่า ดังนั้น ในช่วง 3 ปีต่อไปจะเก็บสูงขึ้น และหากไม่ดำเนินการอีกใน 3 ปีต่อไปจึงจัดเก็บเพิ่มขึ้นอีก การดำเนินการทุกด้านถือว่าไม่เป็นภาระให้กับเจ้าของทรัพย์สินมากเกินไป

ที่มา: manager.co.th

ภาคคำนวณ ROI หรือ ROA เช็คความสามารถในการทำกำไรจากสินทรัพย์หรือเงินลงทุน

ROI (Return on Investment) หรือ ROA (Return on Asset) หรืออัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ทั้งหมด เป็นอัตราส่วนทางการเงินเพื่อวัดประสิทธิภาพในการทำกำไรแสดงให้เห็นว่าสินทรัพย์หรือเงินลงทุนของบริษัทหลังหักภาษีและดอกเบี้ยสามารถทำรายได้มากน้อยเพียงใด เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม โดยคำนวณได้จาก



ผลลัพธ์ที่ออกมาจะมีค่าเป็นเปอร์เซ็นต์ เพื่อใช้เปรียบเทียบความสามารถในการทำกำไรระหว่างบริษัทอื่นในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน ผลจากการคำนวณยิ่งมีเปอร์เซ็นต์สูงจะแสดงให้เห็นว่าบริษัทมีความสามารถในการทำกำไรมาก

*ROA จะสูงหรือต่ำขึ้นกับ Profit Margin กับ Assets Turnover (จะนำเสนอภายหลัง)

ลองคำนวณโดยการกรอกตัวเลขลงในช่องด้านล่าง
[CP_CALCULATED_FIELDS id="6"]

*สำหรับการลงทุนควรใช้เครื่องมืออื่นช่วยในการพิจารณาเพิ่มเติม

วันอังคารที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2558

ธอส. หั่นดอกเบี้ยบ้านลง 0.125% ต่อปี

ธอส. หั่นดอกเบี้ยบ้านลง 0.125% ต่อปี เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระผ่อนชำระค่างวดของลูกค้า ขณะที่สถานการณ์ตลาดอสังหาฯ ในช่วง 3 เดือนแรกปี 58 ยังไม่คึกคัก เมื่อเทียบกับปีก่อน

นางอังคณา ปิลันธน์โอวาท ไชยมนัส กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยว่า ธนาคารได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ทุกประเภทลง 0.125% ต่อปี โดยอัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายย่อยทั่วไป (MRR) เหลือ 6.850% ต่อปี อัตราดอกเบี้ยเงินกู้รายใหญ่ชั้นดีประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา (MLR) เหลือ 6.750% ต่อปี และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้รายใหญ่ชั้นดีประเภทเงินเบิกเกินบัญชี (MOR) เหลือ 7.250% ต่อปี โดยหวังว่าจะช่วยแบ่งเบาภาระการผ่อนชำระเงินงวดสินเชื่อบ้านให้กับลูกค้าลง ได้

นายสัมมา คีตสิน ผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธอส. กล่าวถึงสถานการณ์ธุรกิจและการเงินที่อยู่อาศัย ปี 2558 โดยมองว่า จากการประมาณการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในช่วง 3 เดือนแรก พบว่าอัตราการฟื้นตัวยังไม่ดีเท่าที่ควร โดยเฉพาะโครงการคอนโดมิเนียมมีอัตราการเปิดตัวลดลงประมาณ 9,000 ยูนิต เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีการเปิดกว่า 14,000 ยูนิต เนื่องจากยังมีสินค้าเหลือขายอยู่ในตลาดอีกมาก โดยคาดว่าทั้งปีจะมีการเปิดตัวใหม่ 65,000 ยูนิต เทียบปีก่อนที่เปิดตัว 75,000 ยูนิต

ส่วนของโครงการแนวราบจะมีการเปิดใหม่ประมาณ 9,000-9,500 ยูนิต เทียบช่วงเดียวกันปีก่อนที่ 9,500 ยูนิต คาดว่าทั้งปีจะไม่ต่ำกว่า 45,000 ยูนิต โดยใกล้เคียงปีที่ผ่านมา

ที่มา: manager.co.th

รถไฟ ไทย-จีน

เพราะโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-หนองคาย เคยเป็นจำเลยทางการเมืองในการล้มรัฐบาลที่เป็นเจ้าของโปรเจ็กต์ ว่าใช้เงินลงทุนสูง จะสร้างหนี้แก่คนในประเทศ ยังไม่ถึงเวลาจำเป็น และน่าจะพัฒนาถนนลูกรังก่อน
เพราะโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-หนองคาย เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาล 2 ประเทศ คือ ราชอาณาจักรไทย กับสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยเฉพาะจีนที่ต้องการขยายเส้นทางการค้าการคมนาคมเชื่อมเข้าสู่ภูมิภาคอา เซียน


ดังนั้นแม้การเมืองภายในประเทศจะเปลี่ยนหน้าเล่น แต่โครงการรถไฟความเร็วสูง ที่ถูกเรียกใหม่ว่า "กึ่งความเร็วสูง" เพราะให้ลดความเร็วลงเหลือเฉลี่ย 180 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ก็ยังคงเดินหน้าต่อในรูปของความร่วมมือไทย-จีนเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้น ฐานทางรถไฟของประเทศไทย ในการก่อสร้างรถไฟทางคู่มาตรฐาน ระยะทางรวม 867 กิโลเมตร (หนองคาย-นครราชสีมา-แก่งคอย-มาบตาพุด 734 กิโลเมตร และแก่งคอย-กรุงเทพฯ 133 กิโลเมตร) ด้วยวงเงินลงทุนประมาณ 3.9 แสนล้านบาท
แต่การเมืองในไทยซึ่งหมายถึงการทำลายคนทำงานก็ยังคงหาแง่มุมทำหน้าที่ของ มันต่อไป ดังนั้นก่อนหน้านี้จึงมีการเผยแพร่ข้อมูลออกมาแบบบิดเบือนว่า โครงการเกือบ 4 แสนล้านบาทนี้ ฝ่ายไทยมีแต่ขาดทุนเพราะฝ่ายจีนพยายามเอาเปรียบทุกด้าน เช่น จะให้ไทยกู้เงินจากธนาคารจีนในอัตราดอกเบี้ยสูง จีนจะขอดำเนินโครงการเองตั้งแต่ออกแบบ ก่อสร้าง จนถึงขั้นเดินรถ แถมยังบอกด้วยว่าจีนเรียกร้องสิทธิในการพัฒนาที่ดินสองข้างทางตลอดระยะทาง 873 กิโลเมตร
เพราะข้อเท็จจริงนั้น การระดมทุนเป็นสิทธิของรัฐบาลไทย  โดยเฉพาะรัฐบาล คสช. ต้องระมัดระวังเรื่องนี้มากว่าต้องไม่ก่อหนี้ให้ถูกโจมตีทางการเมือง ขณะที่โครงการนี้รัฐบาลจีนเป็นฝ่ายเสนอให้ 2 ฝ่ายร่วมมือด้วยรูปแบบ EPC (Engineering Procurement and Construction) คือ รัฐบาลไทยเป็นเจ้าของโครงการ รับผิดชอบจัดหาเงินทุน  ฝ่ายจีนรับเหมาก่อสร้างเสร็จแล้วมอบให้ฝ่ายไทยเดินรถ
ข้อมูลที่ถูกบิดเบือนนี้ฝ่ายจีนมีการชี้แจงออกมาว่า เรื่องการเรียกร้องสิทธิในการพัฒนาที่ดินสองข้างทางนั้น "จีนไม่เคยมีข้อเรียกร้องที่ไร้เหตุผลเช่นนี้มาก่อน และต่อไปก็จะไม่มีข้อเสนอนี้แน่นอน"
ข่าวล่าสุดนั้นจากการประชุมคณะกรรมการร่วมไทย-จีนในการพัฒนาโครงการนี้ มีข้อสรุปในเรื่องการเงินว่า ด้านการเวนคืนที่ดินจะใช้เงินงบประมาณแผ่นดิน ด้านการก่อสร้างจะใช้เงินกู้ภายในประเทศ โดยอาจจะออกพันธบัตรเงินกู้ในนามกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน ส่วนการลงทุนด้านระบบราง ระบบอาณัติสัญญาณ จะใช้เงินกู้จากจีน โดยจะเจรจาขออัตราดอกเบี้ยต่ำกว่า 2% ระยะเวลาชำระคืน 25-30 ปี และขอปลอดดกอกเบี้ย 7-10 ปี
ที่เป็นข่าวดีคือเมื่อโครงการนี้อยู่ภายใต้รัฐบาล คสช. ที่เคลมเร็วทำเร็ว จึงไม่น่าจะสะดุดอย่างโครงการภายใต้รัฐบาลพลเรือน  หากเป็นไปตามแผนภายในสิ้นปีนี้จะเริ่มก่อสร้าง และภายในปี 2561 คนไทยก็จะได้นั่งรถไฟกึ่งความเร็วสูงกันแล้ว

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 35 ฉบับที่ 3,035  วันที่ 15 - 18  มีนาคม  พ.ศ. 2558

วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2558

หนุนปั้นบางใหญ่รับมอเตอร์เวย์

หนุนรัฐบาลเร่งปั้นบางใหญ่รับการขยายเส้นทางเศรษฐกิจทวาย-เมียนมาร์ ตามแนวเส้นทางมอเตอร์เวย์ "บางใหญ่-กาญจนบุรี-ด่านพุน้ำร้อน" ชูจุดขายครบครันด้วยศูนย์กลางการเดินทางและ แหล่งช็อปปิ้งมอลล์ชั้นนำ ด้านกรมทางหลวง เสนอครม.อนุมัติแหล่งทุนดำเนินโครงการ ส่วนรฟม.เตรียมความพร้อมทดสอบเดินรถไฟฟ้าสายสีม่วงปลายปีนี้


ว่าจากการที่รัฐบาลโดยกระทรวงคมนาคมและการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศ ไทย(รฟม.)เร่งเปิดให้บริการโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง เส้นทางบางใหญ่-บางซื่อ โดยจะมีการทดสอบเดินรถช่วงปลายปีนี้เพื่อให้พร้อมที่จะเปิดให้บริการอย่าง เป็นทางการในปี 2559 นั้นส่งผลให้บางใหญ่กลายเป็นศูนย์กลางความเจริญในด้านต่างๆที่สามารถจะดึง ดูดให้ผู้คนจากพื้นที่ต่างๆมาในพื้นที่ได้สะดวกสบายยิ่งขึ้น
นอกจากนั้นกรมทางหลวง(ทล.)ยังมีโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) เส้นทางบางใหญ่-กาญจนบุรี ที่ในอนาคตมีแผนจะขยายเส้นทางไปยังด่านบ้านพุน้ำร้อนเพื่อเชื่อมโยงกับท่า เรือน้ำลึกทวายของเมียนมาร์อีกด้วยโดยบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด(มหาชน) ได้ปรับปรุงเส้นทางเป็นถนนลูกรังรองรับไว้แล้ว ซึ่งในอนาคตอันใกล้นี้จะส่งผลให้การเดินทางจากบางใหญ่ไปสู่พื้นที่เมียนมาร์ ได้รับความสะดวกรวดเร็ว
"ปัจจุบันราคาประเมินที่ดินในพื้นที่พบว่าขยับตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก จากเดิม 1-2 ปีที่ผ่านมาตารางวาละหลักหมื่นปัจจุบันขยับขึ้นมาเป็นหลักแสนบาทและยังมีแนว โน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง บางจุดน่าจะสูงถึง 1.5-2 แสนบาทต่อตารางวาโดยเฉพาะจุดโดยรอบสถานีบางใหญ่ และจะปรับเพิ่มอีกแน่นอนหากรถไฟฟ้าเปิดบริการ"
โดยปัจจัยบวกนอกจากรถไฟฟ้าสายสีม่วงแล้ว ทล.ยังมีแผนก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองจากช่วงจุดเชื่อมทางด่วนพระราม 2 ไปยังบางใหญ่-บางปะอินที่จะต้องผ่านพื้นที่ดังกล่าวนี้ด้วย นอกเหนือจากก่อสร้างมอเตอร์เวย์ไปกาญจนบุรีจึงเกิดเป็นจุดเชื่อมโยงการเดิน ทางที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งในพื้นที่โซนตะวันตกที่สามารถพลิกโฉมการพัฒนาเมือง ได้อย่างแน่นอน
นอกเหนือจะเป็นจุดเชื่อมโยงการเดินทางที่สะดวกรวดเร็วไปยังภูมิภาคต่างๆ แล้ว สิ่งที่ย่านบางใหญ่ จะได้ตามมาคือเสน่ห์ของการบริการที่ครบครันอย่างรถไฟฟ้า  ทางด่วน ตลอดจนห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่อย่างเซ็นทรัลเวสต์เกตที่กำหนดเปิดให้บริการใน ปี 2558  อีกทั้งในอนาคตทราบว่าห้างเมก้ายังจะเปิดให้บริการในพื้นที่ใกล้เคียงกับ เซ็นทรัลเวสต์เกตอีกด้วยจึงจะมีส่วนดึงดูดนักท่องเที่ยวจากเมียนมาร์ อินเดียหรือปากีสถานผ่านมอเตอร์เวย์เส้นทางบางใหญ่-กาญจนบุรีได้มากขึ้น
แหล่งข่าวระดับสูงของกรมทางหลวงกล่าวว่าขณะนี้โครงการก่อสร้างมอเตอร์เวย์ เส้นทางบางใหญ่ –กาญจนบุรีและเส้นทางอื่นตามแผนนั้นยังอยู่ระหว่างการนำเสนอกระทรวงคมนาคม พิจารณานำเสนอกระทรวงการคลังหาแหล่งทุนเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาโครงการและ เสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.)อนุมัติให้ดำเนินการ  คาดว่าจะได้ข้อสรุปชัดเจนภายใน 1-2 เดือนนี้ก่อนที่จะให้มีการเปิดประมูลหาผู้รับเหมาก่อสร้างต่อไป
"เส้นทางบางใหญ่-กาญจนบุรีนั้นรัฐบาลโดยกระทรวงการคลังน่าจะสามารถหาเงิน กู้ภายในประเทศมาลงทุนเอง เช่นเดียวกับเส้นทางบางปะอิน-นครราชสีมา  ส่วนเส้นทางพัทยา-มาบตาพุดนั้นคงจะใช้เงินกองทุนมอเตอร์เวย์สาย 7 และสาย 9 ที่มีอยู่กว่า 4 หมื่นล้านบาทเข้าไปทยอยดำเนินการก่อสร้าง"
ด้านนายธีรพันธ์  เตชะศิรินุกูล รองผู้ว่าการ รฟม. (ด้านกลยุทธ์และแผน) รักษาการแทนผู้ว่าการรฟม. กล่าวว่าโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง เส้นทางบางซื่อ-บางใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด(มหาชน) เป็นผู้ได้รับสิทธิ์จัดหาขบวนรถไฟฟ้าโดยจะนำเข้ามาทดสอบเดินรถในช่วงปลายปี 2558 และพร้อมเปิดให้บริการในปี ช่วงกลางปี 2559

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 35 ฉบับที่ 3,033  วันที่  8 - 11  มีนาคม  พ.ศ. 2558

วัดกำลังซื้อโค้งสุดท้ายไตรมาส 1/58

เมื่อช่วงต้นๆปี 2558 ทุกภาคส่วนต่างคาดการณ์เศรษฐกิจจะดีกว่าปีก่อน หลังรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เร่งขับเคลื่อนแผนกระตุ้นเศรษฐกิจและเรียกความเชื่อมั่นจากนักลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะโครงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานนั้น มองว่าเป็นปัจจัยบวกอย่างมากต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ทั้งที่อยู่อาศัย ต่อเนื่องถึงราคาที่ดิน วัสดุก่อสร้างและสินค้าตกแต่งบ้าน
แต่หลังจากผ่านมากว่า 2 เดือน เกือบจะปิดไตรมาสแรกปีนี้ กำลังซื้อไม่คึกคัก แตกต่างจากกิจกรรมส่งเสริมการขายที่ผู้ประกอบการทุกรายต่างทุ่มสร้างสีสัน อย่างสุดฤทธิ์ หวังดึงผู้บริโภคให้จับจ่ายบ้าง สำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ต้องเจอปัญหาหนี้ครัวเรือนตามหลอน ดังนั้น กิจกรรมใหญ่ๆที่จัดขึ้นพร้อมกันในช่วงโค้งสุดท้ายของไตรมาสแรกนี้ ไม่ว่างานมหกรรมบ้านและคอนโด งานโฮมโปร เอ็กซ์โป และงาน Thailand International Furniture Fair ผู้ประกอบการต่างคาดหวังจะมีส่วนช่วยกระตุ้นกำลังซื้ออย่างดี
***มหกรรมบ้านและคอนโด ค่ายอสังหาฯประชันโปรโมชัน
ทุกปี 3 สมาคมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ประกอบด้วยสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร สมาคมอาคารชุดไทย และสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย จัดงานมหกรรมบ้านและคอนโด เป็นประจำเพื่อ ให้เป็นแหล่งรวมสินค้าที่อยู่อาศัย เพื่อให้ผู้บริโภคได้เลือกซื้อ สำหรับปีนี้ค่ายอสังหาฯทั้งรายใหญ่ กลางและเล็กต่างประชันโปรโมชันกันเต็มที่ ทั้งลด ทั้งแจก ทั้งแถม เพื่อระบายของที่มีอยู่เต็มมือ
นายอารีศักดิ์ เสถียรภาพอยุทธ์ ประธานจัดงานมหกรรมบ้านและคอนโด ครั้งที่ 32 กล่าวว่า
คอนเซ็ปต์ของงานครั้งนี้ คือ "ถูกทุกข้อกับทำเลเด่น ราคาดี ครบที่เดียว" เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้า ว่ามาเลือกซื้อที่อยู่อาศัยในงานนี้เป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง เพราะมีมากกว่า 600 โครงการจากทำเลเด่นทั่วประเทศ ราคาทุกระดับตามงบประมาณของลูกค้า พร้อมโปรโมชั่นพิเศษมากมาย
สำหรับงานครั้งนี้จะคึกคักอย่างแน่นอน เพราะผู้ประกอบการมากกว่า 200 รายได้เตรียมโปรโมชั่นพิเศษที่หาจากที่อื่นไม่ได้ อีกทั้งสถาบันการเงินชั้นนำกว่าสิบรายยังได้นำโปรโมชั่นสินเชื่อมาช่วยในการ ตัดสินใจซื้อของลูกค้า คณะกรรมการจัดงานจึงเชื่อว่าจะมีคนร่วมงานครั้งนี้มากกว่าแสนคนและมียอดขาย ตลอดงานทะลุ 3 พันล้านบาท และคาดว่าจะมียอดขายตามมาอีกหลังจบงาน 2-3 เท่าตัว"
***โฮมโปร เอ็กซ์โป ตัวช่วยยอดขาย
ไม่เพียงแต่สินค้ากลุ่มที่อยู่อาศัยที่มียอดขายซึมๆ แล้ว กลุ่มสินค้าตกแต่งบ้านและวัสดุก่อสร้างก็ตกอยู่ในอาการเดียวกัน โดยนายณัฏฐ์ จริตชนะ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท โฮมโปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด(มหาชน) หรือโฮมโปร กล่าวว่า ช่วง 2 เดือนแรกที่ผ่านมา ตลาดค่อนข้างซึม การตัดสินใจของลูกค้าต่อบิลเบาลง อย่างไรก็ตาม ยอดขายแต่ละเดือนไม่ถือว่าลดลงมากนัก ลดลง 3-5% จากเป้ายอดขายที่ตั้งไว้  จึงต้องจัดโปรโมชั่นออกมามากเป็นการกระตุ้นการซื้อ และเดือนมีนาคมนี้ทุ่มงบกว่า 120 ล้านบาท จัดงานโฮมโปร เอ็กซ์โป ครั้งที่ 21 ระดมพลขนนวัตกรรมสินค้าเกี่ยวกับบ้านที่ใหญ่ที่สุด กับคู่ค้ากว่า 300 ราย กระหน่ำลดราคาสูงสุด 80% มาให้คนรักบ้านตัวจริงได้ช็อปอย่างจุใจ พร้อมของแจกอีกมากมาย อาทิ รถจักรยานยนต์ ยามาฮ่าฟีโน่ ซัมซุง, Galaxy Note Edge, ซัมซุงแอลอีดี ทีวี ระหว่างวันที่ 13-22  มี.ค. 2558  ณ ฮอลล์ 5-8 อิมแพ็ค เมืองทองธานี
*** TIFF 2015งานรวมเฟอร์นิเจอร์ดีไซน์ล้ำสมัย
กลุ่มอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องเรือนไทย ร่วมกับกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ จัดงาน TIFF 2015 ขึ้นมา นอกจากจะมีรอบธุรกิจ ที่เป็นการเจรจาการค้ากับผู้ซื้อจากทั่วโลกแล้ว ยังมีรอบที่เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าไปซื้อเฟอร์นิเจอร์คุณภาพมาตรฐานส่งออก ในราคาพิเศษ ซึ่งปีนี้มีผู้ประกอบการชั้นนำแบรนด์ดังมาร่วมงานกว่า 200 บริษัท 800 คูหา ที่เป็นเจ้าของโรงงานเองโดยนำเฟอร์นิเจอร์คุณภาพดีที่สุด คอลเลกชันใหม่ล่าสุด และนวัตกรรมใหม่ๆ มาให้เลือกสรรอย่างครบครันทุกประเภททุกสไตล์ โดยจัดขึ้นในแนวคิด ASEAN Smart Living ที่สะท้อนถึงภาพลักษณ์ของประเทศไทยในฐานะที่เป็นศูนย์กลางของการผลิตและการ ค้าสินค้าเฟอร์นิเจอร์ของอาเซียน
ดังนั้น 3 งานใหญ่ช่วงโค้งสุดท้ายไตรมาสแรกปีนี้ จะเป็นตัวบ่งชี้ว่าความเชื่อมั่นผู้บริโภคฟื้นคืนมาหรือไม่ เพราะช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาผู้บริโภคต่างระมัดระวังตัวในการจับจ่าย ทำให้บรรยากาศโดยรวมจึงค่อนข้างซึมๆ จากนี้ไปก็ต้องลุ้นงบลงทุนจากโครงการรัฐมาช่วยเรียกความเชื่อมั่นในไตรมาส2 ต่อไป

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 35 ฉบับที่ 3,035  วันที่ 15 - 18  มีนาคม  พ.ศ. 2558

เร่งดันพ.ร.บ.นายหน้าอสังหาฯ

ส.นายหน้าอสังหาฯ เสริมแกร่งส่งเรื่องขอรับรองอาชีพจากสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ระหว่างรอพ.ร.บ.นายหน้าอสังหาฯ หวังเป็นแรงสนับสนุนสร้างความน่าเชื่อถือ พร้อมปรับเปลี่ยนรายละเอียดก่อนยื่นขอพ.ร.บ. หลังเรื่องถูกแช่แข็งนานเกือบ 10 ปี
นายสมศักดิ์ มุนีพีระกุล นายกสมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ไทย เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ถึงความคืบหน้าการจัดทำพ.ร.บ.นายหน้าอสังหาริมทรัพย์ว่า ล่าสุดทางสมาคมได้ส่งเรื่องต่อสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) ให้จัดทำมาตรฐานอาชีพและรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ เพื่อเป็นบทเสริมสร้างความน่าเชื่อถือให้กับร่างพ.ร.บ.นายหน้าอสังหาฯ ฉบับแก้ไข ก่อนที่จะนำเสนอต่อกระทรวงการคลัง ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างรอผลสรุปการจัดทำ
สำหรับสาระสำคัญของกฎหมายที่แก้ไขใหม่ มุ่งเน้นไปถึงความจำเป็นที่รัฐบาลต้องออกพ.ร.บ.นายหน้า เพื่อควบคุมการทำงานของนายหน้าทุกคนในประเทศไทย รวมทั้งการกำหนดคุณสมบัติของนายหน้าออกเป็นกลุ่ม ซึ่งสาเหตุที่ต้องแบ่งนายหน้าออกเป็นกลุ่มเพื่อจะได้ไม่ลิดรอนสิทธิของผู้ ที่ไม่ได้จบหลักสูตรใดๆ แต่ต้องการทำอาชีพนายหน้า นอกจากนี้ยังมีเรื่องกฎกติกา และจรรยาบรรณในการทำงาน รวมทั้งบทลงโทษสำหรับผู้ที่ทำผิดกฎหมาย
"พ.ร.บ.นายหน้าอสังหาฯ เป็นเรื่องที่สมาคมผลักดันมาตั้งแต่ปี 2549 แต่ก็ไม่ได้รับการพิจารณา ดังนั้นสมาคมจึงมีแนวคิดที่จะให้สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพรับรอง เพื่อเป็นเครื่องการันตีว่าอาชีพนายหน้าอสังหาฯ ต้องมีหน่วยงานมากำกับดูแลชัดเจนเหมือนวิศวกรที่มีสภาวิศวกร ก่อนที่จะนำร่างพ.ร.บ.ยื่นให้กระทรวงการคลังพิจารณา โดยเชื่อว่าหากมีพ.ร.บ.นายหน้าแล้วจะสามารถบังคับและควบคุมให้ผู้ที่ทำอาชีพ นี้มีจรรยาบรรณ และจะทำให้ผู้ที่เข้ามาสู่อาชีพนายหน้ามีมาตรฐานมากขึ้น รวมทั้งสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค" นายสมศักดิ์ กล่าวและว่า
แม้ที่ผ่านมาจะไม่มีกฎหมายออกมาควบคุมการทำงาน แต่ทางสมาคมได้พยายามพัฒนาวิชาชีพของนายหน้าให้ดีขึ้น ผ่านการอบรมหลักสูตรต่างๆ สำหรับพัฒนาความรู้นายหน้า รวมทั้งการร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเอกชน เพื่อจัดหลักสูตรการเรียนการสอนเกี่ยวกับธุรกิจนายหน้า นอกจากนี้ยังได้มีความพยายามควบคุมเฉพาะนายหน้าเป็นสมาชิกของสมาคม เพื่อมิให้ทำความเสียหาย และสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ลูกค้า

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 35 ฉบับที่ 3,034  วันที่ 12 - 14  มีนาคม  พ.ศ. 2558

วันอาทิตย์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2558

ตลาดคอนโดหรูเดือด ยักษ์อสังหาฯโดดชิงเค้ก

ภาพรวมของตลาดอสังหาริมทรัพย์ฯไตรมาสแรกปีนี้ มีความขัดแย้งกันอยู่ในด้านหนึ่งที่ภาพใหญ่จำนวนโครงการเปิดใหม่ต่ำกว่าช่วง เดียวกันปีก่อนหน้า ข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ระบุว่า  2 เดือนที่ผ่านมามี โครงการที่อยู่อาศัยใหม่เปิดตัว 8,000 ยูนิต แยกเป็นบ้านจัดสรร 5,000 ยูนิต และคอนโดมิเนียม 3,000 ยูนิต  ขณะเดียวกันผู้บริหารโครงการที่เปิดตัวในช่วงต้นปีที่ผ่านมากลับบอกว่า ยอดขายดีกว่าคาด และที่น่าสนใจคือ ตลาดคอนโดมิเนียมระดับซูเปอร์ลักชัวรี หรือมีราคาขายมากกว่า 200,000 บาทต่อตารางเมตร ที่พาเหรดเข้าตลาดอย่างคึกคัก
นับจากเดือนมกราคมเป็นต้นมา คอนโดฯหรูระยับที่ราคาขายเริ่มต้นจาก 13 ล้านบาท เปิดตัวแล้ว 4 โครงการ คือ โฟร์ซีซั่น ไพรเวท โครงการริมแม่น้ำเจ้าพระยา ของ บริษัท คันทรีกรุป ดิเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) มีมูลค่าโครงการสูงถึง 3.2 หมื่นล้านบาท พัฒนาขึ้นบนหลักคิดว่า "ประสบการณ์ที่อยู่อาศัยที่หาไม่ได้ในเอเชีย" กำหนดราคาสูงสุด (เพนต์เฮาส์) ไว้ที่ 1,050 ล้านบาท
ถัดมาคือ ดิโพลแมท 39 ของ พัฒนาโดย บริษัท เคพีเอ็น กรุ๊ป คอปอร์เรชั่น คลื่นลูกใหม่ของวงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ยึดย่านพร้อมพงษ์เป็นสมรภูมิ ตั้งราคาไว้ระหว่าง 15-185 ล้านบาท   ไล่เลี่ยตามด้วย "นิมิต หลังสวน"ของ บมจ. เพซ ดิเวลลอปเมนท์ ที่เน้นพัฒนาโครงการแนวตั้งราคาสูงโดยเฉพาะ ราคาขาย 300,000 บาทต่อตารางเมตร เริ่มที่ 25 ล้านบาท ที่ตามมาติดๆ คือ โครงการ คิว สุขุมวิท ของ บมจ. ควอลิตี้เฮ้าส์ ท็อปไฟว์วงการอสังหาริมทรัพย์ไทย ราคาเริ่มต้น 26.3 ล้านบาท และที่อยู่ระหว่างรอเปิดตัวคือโครงการ "ศาลาแดง วัน" ของ บมจ.เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น เบื้องต้นตั้งราคาขายไว้ที่ 280,000 บาทต่อตารางเมตร
การขยับตัวเข้าตลาดคอนโดมิเนียมบนสุดของผู้ประกอบการเหล่านั้นในช่วงเวลา ไล่เลี่ยกัน บ่งชี้แนวโน้ม 3 ประการ คือ 1.ตอกย้ำว่าตลาดบนมีอนาคต เมื่อเทียบกับตลาดกลางที่ถูกกดดันจากปัญหาหนี้ครัวเรือน 2.สภาพการแข่งขันในตลาดบนที่เคยมีผู้เล่นน้อยรายกำลังเปลี่ยนไปเมื่อมีผู้ เล่นหน้าใหม่เพิ่มขึ้น และ 3.สินค้าที่เสนอขายในตลาดที่เพิ่มขึ้น (ข้อมูลจาก ซีบีอีอาร์ ระบุว่า ปัจจุบันมีคอนโดฯหรูในตลาด 2,500 ยูนิต จาก 12 โครงการ) ย่อมหมายถึง ดีกรีการแข่งขันที่จะรุนแรงขึ้นกว่าเดิม
น่าสนใจว่าโฉมหน้าของตลาดคอนโดมิเนียมหรูที่มีส่วนแบ่งตลาดประมาณ 2% ของตลาดรวม จะออกมาเป็นอย่างไร ภายใต้สถานการณ์ที่เปลี่ยนไป

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 35 ฉบับที่ 3,036  วันที่ 19- 21  มีนาคม  พ.ศ. 2558

ผุดไอเดีย ตั้งศูนย์ซ่อมระบบรางอาเซียน

"ประจิน"ผุดไอเดียปั้นไทยเป็นศูนย์ฝึกและซ่อมบำรุงระบบรางแห่งอาเซียน ดึงจีน-ญี่ปุ่นร่วมลงทุน ต่อยอดความร่วมมือรถไฟไทยกับจีนและญี่ปุ่น สั่งร.ฟ.ท.เอกซเรย์พื้นที่แปลงใหญ่ทั่วประเทศ เล็ง 1 พันไร่ที่กาญจนบุรีรองรับรถไฟสายใต้-สายตะวันตกเชื่อมโยงทวายและเวสเทิร์ นซีบอร์ด ส่วนโซนอีสานเล็ง-จุดแก่งคอยและหนองคายไว้รองรับ ด้าน "วุฒิชาติ" ปิ๊งไอเดียพัฒนาเชิงพาณิชย์พื้นที่แปลงใหญ่ทั้งในกทม.-ต่างจังหวัด
พล.อ.อ.ประจิน  จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า จากการที่ไทยมีโครงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานระบบราง โดยมีจีนและญี่ปุ่นที่แสดงความสนใจนั้น เพื่อต่อยอดแผนการพัฒนาระบบราง กระทรวงคมนาคมจึงมีแนวคิดจะจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมและซ่อมบำรุงระบบรางแห่งอา เซียนขึ้น เพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางด้านการฝึกอบรมและซ่อมบำรุงระบบรางของภูมิภาคนี้ เพราะยังมีหลายประเทศในอาเซียนที่สนใจพัฒนาระบบรางใหม่
"มองว่าพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่จังหวัดหนองคายและอำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรีมีความเหมาะสมดำเนินการเพื่อรองรับเส้นทางรถไฟไทย-จีนที่มา จากสปป.ลาวได้ด้วย นอกเหนือจากเส้นทางต่างๆที่เปิดให้บริการในปัจจุบันและที่ร.ฟ.ท.มีแผนก่อ สร้างขึ้นมาเพิ่ม  เช่นเดียวกับพื้นที่โซนตะวันตกที่กาญจนบุรีก็มีพื้นที่ที่สามารถจะนำมา ดำเนินการได้หลายแปลงเพื่อรองรับรถไฟเส้นทางสายใต้ที่ในอนาคตจะเชื่อมโยงสู่ มาเลเซียและสิงคโปร์ได้อีกด้วย"
ด้านนายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) กล่าวว่าได้สั่งการให้ผู้รับผิดชอบไปเร่งสำรวจพื้นที่แปลงขนาดใหญ่ทั้งใน กรุงเทพมหานครและต่างจังหวัดที่มีศักยภาพเพื่อนำไปพัฒนาตามนโยบายของ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม โดยเฉพาะการพัฒนาเชิงพาณิชย์และก่อสร้างศูนย์ฝึกและซ่อมบำรุงระบบรางเพื่อ รองรับรถไฟไทย-จีนและรถไฟของอาเซียนและใช้ไทยเชื่อมโยงไปสู่ประเทศต่างๆใน ภูมิภาคนี้
"จุดสถานีหนองคายเดิมมีพื้นที่ประมาณ 90 ไร่ ส่วนสถานีรถไฟแห่งใหม่มีประมาณ 100 ไร่ อีกทั้งยังมีพื้นที่ย่านนาทาใกล้ๆกันอีกประมาณ 200-300 ไร่รวมแล้วประมาณ 400 ไร่จึงเหมาะสำหรับคอนศูนย์กองเก็บสินค้าหรือคอนเทนเนอร์ยาร์ด(CY) นอกจากนั้นยังมีอีกหลายพื้นที่ที่น่าสนใจ เช่น แก่งคอยอีกเกือบ 1,000 ไร่ไม่เฉพาะสร้างเป็นศูนย์ฝึกเท่านั้น  หากทำเลไหนมีศักยภาพยังสามารถพัฒนาเชิงพาณิชย์รูปแบบต่างๆหารายได้ให้ร.ฟ.ท. ได้อีกด้วยโดยหากได้ข้อมูลทั้งหมดแล้วจะนำเสนอบอร์ดร.ฟ.ท. กระทรวงคมนาคมนำเสนอรัฐบาลให้ดำเนินการพัฒนาเชิงพาณิชย์ต่อไป"
ด้านแหล่งข่าวระดับสูงร.ฟ.ท.กล่าวว่าปัจจุบันร.ฟ.ท.มีที่ดินทั้งหมดจำนวน 2.3 แสนไร่ จำแนกเป็นการใช้เพื่อการเดินรถ 1.98 แสนไร่ และพื้นที่เพื่อทำประโยชน์เชิงพาณิชย์ 3.6 หมื่นไร่ ขณะนี้อยู่ระหว่างการสำรวจพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรีที่มีอยู่ประมาณ 1,070 ไร่เหมาะสำหรับการพัฒนาให้เป็นศูนย์ฝึกซ่อมบำรุงและการพัฒนาเชิงพาณิชย์ โดยสามารถแบ่งโซนทยอยดำเนินการได้  แม้ว่าปัจจุบันจะมีผู้บุกรุกออกโฉนดทับซ้อนนำที่ดินไปสร้างรีสอร์ตจำนวนมาก ก็ตาม จึงต้องเร่งขับไล่ผู้บุกรุกให้ออกจากพื้นที่เพื่อนำที่ดินไปพัฒนาสร้างราย ได้ให้ร.ฟ.ท.ต่อไป
"ศักยภาพพื้นที่กาญจนบุรีเหมาะสำหรับการพัฒนาเพื่อรองรับการซ่อมบำรุงให้ กับรถไฟสายใต้  สายตะวันตกที่จะเชื่อมโยงท่าเรือน้ำลึกทวายของเมียนมาร์ นอกจากนั้นรัฐบาลโดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ยังมีแนวคิดจัดตั้งโครงการพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมภาคตะวันตก(เวสเทิร์ นซีบอร์ด) ที่มุ่งจะผลิตอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำเชื่อมต่อเขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งกาญจนบุรีถือว่ามีศักยภาพจึงเตรียมนำเสนอให้กระทรวงคมนาคมนำเสนอรัฐบาล เร่งพิจารณา"
นอกจากนั้นร.ฟ.ท.ยังมีพื้นที่สำคัญที่อยู่ระหว่างการเร่งผลักดันอีกหลาย แปลง เช่น แปลงในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ได้แก่ พื้นที่มักกะสัน ประมาณ 500 ไร่ พื้นที่สถานีแม่น้ำประมาณ  277 ไร่ และพื้นที่กม.11 รวมถึงพื้นที่ย่านพหลโยธิน-บางซื่อจำนวน 2,300 ไร่ ส่วนแปลงในพื้นที่ต่างจังหวัด อาทิ อุบลราชธานี ทำเลติดแม่น้ำมูลประมาณ 760 ไร่ แปลงที่พังงา-ภูเก็ต ติดสะพานสารสินและยังเป็นทำเลที่ติดทะเลอันดามันและอ่าวไทยอีกด้วย ปัจจุบันอยู่ระหว่างการร่วมกับกรมที่ดินดำเนินการเพิกถอนพื้นที่ดังกล่าว เพื่อนำไปสร้างรายได้ให้ร.ฟ.ท.ต่อไป

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 35 ฉบับที่ 3,036  วันที่ 19- 21  มีนาคม  พ.ศ. 2558

เคล็ดลับวิธีคลายร้อนจากหลังคาสู่ตัวบ้าน













   สำหรับหน้าร้อนที่กำลังจะมาถึง ใครหลายๆ คนอาจเตรียมรับมือต่อปัญหาบ้านร้อนด้วยวิธีที่ต่างกันออกไป แต่รู้หรือไม่ว่าสาเหตุหลักของความร้อนในบ้านนั้นมาจากหลังคา เนื่องจากเป็นด่านแรกที่ได้รับความร้อนโดยตรงจากแสงอาทิตย์ ก่อนถ่ายเทเข้าสู่ตัวบ้าน ดังนั้น “ตราช้าง” จากเอสซีจี ในฐานะผู้นำนวัตกรรมระบบบ้านเย็นรายแรกในประเทศไทย จึงแนะนำเคล็ดลับวิธีคลายร้อนให้บ้านผ่านการเลือกหลังคา การติดตั้งแผ่นสะท้อนความร้อน และฉนวนกันความร้อน เพื่อเตรียมรับมือต่อปัญหาความร้อนภายในบ้าน พร้อมช่วยทำให้บ้านเย็นขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โดยนายภูมิใจ ประเสริฐกุลวงศ์ วิศวกรผู้ชำนาญการ ด้านการพัฒนากระบวนการช่องทางค้าปลีก “ตราช้าง” จากเอสซีจี ได้มาร่วมเผยเคล็ดลับการปรับบ้านรับหน้าร้อนให้แก่เจ้าของบ้าน โดยแนะนำวิธีการเลือกหลังคา และวัสดุอุปกรณ์ใต้หลังคาที่มีคุณภาพ ได้รับมาตรฐาน และป้องกันความร้อนได้จริง พร้อมวิธีการติดตั้งต่างๆ ที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพคลายร้อนให้บ้านดังนี้




















เริ่มต้นที่การเลือกหลังคา สิ่งสำคัญอันดับแรกที่เจ้าของบ้านต้องใส่ใจเนื่องจากเป็นส่วนที่ดูดซับและ เก็บความร้อนจากแสงอาทิตย์ไว้มากที่สุด ดังนั้น การเลือกหลังคาที่ช่วยทำให้บ้านเย็นจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก โดยหลังคาที่ช่วยคลายร้อนได้นั้น คุณสมบัติแรกคือ ต้องสามารถสะท้อนความร้อนได้ดี ดังนั้น ก่อนที่จะเลือกหลังคา เจ้าของบ้านจึงควรดูค่าสะท้อนความร้อนของกระเบื้องหลังคาให้ดี โดยยิ่งมีค่ามาก หรือสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานในระดับ %NIR มากกว่า 45% (NRI คือ ค่าการสะท้อนความร้อนในช่วงอินฟราเรดใกล้) แสดงว่าสามารถสะท้อนความร้อนที่จะถ่ายเทเข้าสู่ตัวบ้านได้มาก

นอกจากนี้ การเลือกสีหลังคายังเป็นอีกส่วนหนึ่งที่เจ้าของบ้านควรให้ความสำคัญ เนื่องจากมีผลต่อการสะท้อนความร้อนจากแสงอาทิตย์ โดยเจ้าของบ้านควรเลือกหลังคาที่มีการสะท้อนความร้อนได้สูง เช่น สีขาวนวล สีเขียวทุ่งหญ้าสีส้มแสงตะวัน สีแดงทับทิม สีแดงประกายมุก สีน้ำทะเล สีม่วงประกายมุก และสีหมากสุก เป็นต้น นอกจากการเลือกสีหลังคาแล้ว การติดตั้งหลังคาโดยมีองศาที่เหมาะสมก็เป็นอีกหนึ่งส่วนสำคัญที่แก้ปัญหา บ้านร้อนได้ดี โดยแนะนำให้ติดตั้งหลังคาให้มีความลาดชันไม่เกิน 45 องศา เพื่อช่วยกันความร้อน และปกป้องตัวบ้านจากแสงอาทิตย์ได้โดยตรง ทำให้บ้านเย็นสบายมากขึ้น

อีกหนึ่งเคล็ดลับที่ช่วยให้บ้านเย็นขึ้นในช่วงหน้าร้อนนี้คือ การติดตั้งแผ่นสะท้อนความร้อนใต้หลังคาซึ่ง ควรตัดสินใจติดตั้งในช่วงแรกของการสร้างบ้าน โดยแผ่นสะท้อนความร้อนจะช่วยสะท้อนรังสีจากแสงแดดที่มาทางหลังคาได้มากถึง 95% รวมถึงช่วยหน่วงความร้อนไม่ให้เข้าไปสะสมในโถงหลังคามากเกินไป จึงสามารถคลายร้อนให้บ้านได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม เพื่อให้มีประสิทธิภาพการป้องกันความร้อนมากขึ้น ควรติดแผ่นสะท้อนความร้อนควบคู่กับฉนวนกันความร้อน เพื่อช่วยป้องกันมวลอากาศร้อนที่เหลืออยู่ไม่ให้ไหลลงสู่ตัวบ้าน และช่วยให้บ้านเย็นสบายตลอดทั้งวัน




















เคล็ดลับต่อมา คือ การติดตั้งฉนวนกันความร้อนตามแนวฝ้า เนื่องจากฉนวนกันความร้อนถือเป็นอีกส่วนที่สามารถป้องกันความร้อนไม่ให้เข้า บ้าน และทำให้บ้านเย็นขึ้นได้ และสามารถป้องกันความร้อนที่มาทางโถงหลังคาได้มากถึง 7 เท่าแล้ว ยังช่วยกักเก็บความร้อนไม่ให้ถ่ายเทเข้าสู่ตัวบ้านได้ด้วย จึงส่งผลให้บ้านเย็นสบายมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยในปัจจุบันฉนวนกันความร้อนมีให้เลือกมากมายหลายขนาด ทั้งความหนา 75 มม. และ 150 มม. เพื่อให้สามารถใช้งานได้สะดวก และตอบโจทย์ความต้องการของเจ้าของบ้านได้ดี อีกทั้งยังสะดวกต่อการติดตั้งกับโครงเคร่าฝ้าเพดานของแต่ละบ้านอีกด้วย

สำหรับเคล็ดลับสุดท้าย คือ การเลือกใช้วัสดุที่ได้รับมาตรฐาน และการรับรอง “ฉลากเขียว” จากคณะกรรมการนักธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อมไทย (Thailand Business Council for Sustainable Development: TBCSD) เพราะกระเบื้องหลังคา แผ่นสะท้อนความร้อน และฉนวนที่ได้รับการรับรองนี้ นอกจากจะได้รับการการันตีคุณภาพการสะท้อนความร้อนกันความร้อนแล้ว ยังช่วยให้บ้านเย็นขึ้นได้อย่างแท้จริง และยังเป็นการรับประกันว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม นอกจากการติดตั้งหลังคา แผ่นสะท้อนความร้อน และฉนวนกันความร้อน ที่ทำให้บ้านเย็นขึ้นได้อย่างที่แนะนำมาแล้ว เจ้าของบ้านยังควรเลือกติดตั้งนวัตกรรมระบบบ้านเย็นให้ครบทั้งระบบ ซึ่งประกอบด้วย ระบบหลังคาและฝ้าเย็น ระบบผนังเย็นแบบ Triple Protection และระบบกันร้อนรอบบ้านที่สามารถสะท้อนความร้อนกันความร้อน และระบายความร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของเจ้าของบ้านในช่วงหน้าร้อน และยังประหยัดค่าไฟจากเครื่องปรับอากาศได้มากถึง 47%

 

ที่มา: http://manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9580000029498

วันเสาร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2558

ข้อดี-ข้อเสีย ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

แนวคิดการออกพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูก สร้างใหม่ กลายเป็นประเด็นที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางในช่วงไม่กี่เดือนที่ ผ่านมา เนื่องจากสร้างความตื่นตระหนกจากความกังวลเกี่ยวกับภาระภาษีที่จะเพิ่มขึ้น ทั้งสำหรับภาคประชาชนทั่วไปและภาคธุรกิจ อย่างไรก็ดี จากการที่รัฐบาลประกาศให้เลื่อนการพิจารณาเรื่องนี้ออกไปเพื่อศึกษาราย ละเอียดเพิ่มเติม ทำให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมีเวลามากขึ้นในการถกเถียงและวิเคราะห์ข้อ ดี-ข้อเสียของ พ.ร.บ.ดังกล่าว

ทั้งนี้ บริษัท เจแอลแอล (โจนส์ แลง ลาซาลล์) บริษัทที่ปรึกษาและบริการด้านอสังหาริมทรัพย์ระหว่างประเทศ มองว่า โดยหลักการ การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ทั้งสำหรับ นโยบายการคลังของประเทศ และสำหรับภาคอสังหาริมทรัพย์ อย่างไรก็ดี แนวคิดการจัดเก็บภาษีใหม่ใดๆ ก็ตาม ไม่เฉพาะภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเท่านั้น มักได้รับการต่อต้านจากสาธารณะอย่างกว้างขวาง ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่พบเห็นได้ในหลายๆ ประเทศทั่วโลก ดังนั้น การเปิดโอกาสและพื้นที่ให้มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความเห็นของฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความเข้าใจและหาแนวทางลดผลกระทบเชิงลบ จึงน่าจะเป็นแนวทางที่เหมาะสม

ประโยชน์และข้อดีของภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

ในแง่ของอสังหาริมทรัพย์ การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างน่าจะมีส่วนช่วยในการกระตุ้นให้มีการ ใช้ประโยชน์ในที่ดินให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อมีการกำหนดให้ใช้เพดานภาษีสูงสุดสำหรับที่ดินรกร้างที่ไม่มี การใช้ประโยชน์ นอกจากนี้ การจัดเก็บภาษีน่าจะมีส่วนช่วยให้มีการซื้อขายที่ดินเพื่อเก็งกำไรลดลง เนื่องจากภาษีใหม่จะเป็นภาระทางการเงินสำหรับผู้ที่ถือครองที่ดิน และเพิ่มความเสี่ยงให้กับนักเก็งกำไร ในกรณีที่ต้องถือครองที่ดินไว้นานกว่าที่คาดไว้ โดยเฉพาะในทำเลที่ได้รับความนิยม

การซื้อขายที่ดินเพื่อเก็งกำไรที่ลดลง น่าจะมีส่วนช่วยในการชะลอไม่ให้ราคาที่ดินในกรุงเทพฯ และหัวเมืองใหญ่อื่นๆ พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจนเกินไปดังที่เกิดขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ การเก็งกำไรที่ลดลงน่าจะมีส่วนช่วยให้ผู้ที่ต้องการใช้ที่ดินสำหรับใช้ทำ ประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลทั่วไปหรือบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ สามารถซื้อที่ดินได้ในราคาที่ไม่ได้ถูกผลักดันให้สูงเกินจริงจากการเก็งกำไร ซึ่งจะทำให้การพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยราคาไม่แพงในทำเลที่ดีได้มีความเป็น ไปได้มากขึ้น โดยเฉพาะในทำเลที่ใกล้กับส่วนขยายของระบบขนส่งมวล

ในระยะยาว คาดว่าระบบการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะช่วยให้ตลาดอสังหาริม ทรัพย์มีความโปร่งใสมากขึ้น เนื่องจากการจะจัดเก็บภาษีให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภาครัฐฯ จะต้องมีการจัดเก็บและเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวมูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้ ครอบคลุมและเป็นปัจจุบันมากกว่าที่เป็นอยู่ การมีข้อมูลที่โปร่งใสมากขึ้นจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่ต้องการซื้อ-ขาย หรือลงทุนในอสังหาริมทรัพย์

ข้อจำกัดผลกระทบเชิงลบ

ในภาพกว้าง การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ย่อมมีผลกระทบต่อคนจำนวนมากที่ถือครองอสังหาริมทรัพย์ ไม่ว่าจะเป็นบ้าน ที่ดินหรืออื่นๆ ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับการใช้ประโยชน์และมูลค่า ของอสังหาริมทรัพย์ที่บุคคลธรรมดาหรือบริษัทถือครอง

นอกจากนี้ ผู้มีรายได้น้อยแต่อาศัยอยู่ในทำเลดีในหัวเมืองใหญ่ๆ ที่ดินมีราคาสูง จะได้รับผลกระทบจากภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างด้วยอย่างไม่ต้องสงสัย ดังที่เกิดขึ้นในหลายๆ แห่งทั่วโลก แต่ภาครัฐฯ สามารถออกมาตรการต่างๆ เพื่อลดผลกระทบได้

ในกรณีของกรุงเทพฯ จะพบว่าในทำเลดีๆ หลายๆ ทำเล อาจมีสิ่งปลูกสร้างหลายประเภทและหลายระดับปะปนอยู่ในย่านเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นบ้านเดี่ยวราคาแพง คอนโดมิเนียมราคาปานกลาง ลงไปจนถึงอพาร์ตเมนต์ให้เช่าราคาถูกสำหรับผู้มีรายได้น้อย ซึ่งการผสมผสานที่เกิดขึ้นนี้ เป็นวิถีสังคมเมืองรูปแบบหนึ่งที่อาจไม่สามารถพบเห็นได้ในหลายประเทศ แต่กรุงเทพฯ มีปรากฏการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นได้เพราะยังไม่มีระบบภาษีที่ดินและสิ่งปลูก สร้างเข้ามามีอิทธิพลต่อรูปแบบการใช้ประโยชน์ในที่ดิน ทั้งนี้ เมื่อนำระบบภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเข้ามาใช้ เจ้าของอพาร์ตเมนต์ให้เช่าสำหรับผู้มีรายได้น้อย อาจจำเป็นต้องผลักภาระด้านภาษีออกไปโดยการขึ้นค่าเช่าทดแทน ซึ่งอาจทำให้ค่าเช่าสูงขึ้นกว่าที่ผู้เช่าเดิมจะรับได้และต้องย้ายออกไปอยู่ ในทำเลที่ไกลออกไปหรือเดินทางไม่สะดวกเช่นเคย

ส่วนผู้เช่าออฟฟิศในอาคารสำนักงานหรือพื้นที่ร้านค้าในศูนย์การค้าอาจต้อง จ่ายค่าเช่าสูงขึ้นเนื่องจากเจ้าของอาคารหรือศูนย์การค้ามีแนวโน้มที่จะผลัก ภาระภาษีที่เพิ่มขึ้นไปให้กับผู้เช่า

แนวโน้มการกำหนดอัตรการจัดเก็บภาษี

การที่กระทรวงการคลังปรับท่าทีใหม่โดยเสนอให้เริ่มด้วยการเก็บภาษีในอัตรา ระดับที่ต่ำมาก (ก่อนที่จะค่อยๆ ปรับขึ้นในระยะต่อๆ ไป) นับเป็นแนวทางที่เหมาะสม ในระหว่างนี้ เชื่อว่า ภาครัฐฯ จะสามารถระดมความคิดเห็นจากหลากหลายฝ่ายจากทั้งภาครัฐฯ และเอกชนเพื่อหาแนวทางในการกำหนดรายละเอียดของ พ.ร.บ.ให้เกิดประโยชน์ และลดผลกระทบต่อประชาชนให้ได้มากที่สุด

ที่มา: http://manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9580000031244