วันอังคารที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2558

ผู้ว่าแบงก์ชาติชี้เศรษฐกิจไทยป่วย 3 โรค



ที่ อาคารอเนกประสงค์ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ ได้จัดสัมมนาวิชาการ เรื่อง "ก้าวข้ามพัฒนาการเศรษฐกิจไทย ด้วยการเพิ่มผลิตภาพ : บริบทของภาคเหนือ" โดย ดร.ประสาร ไตรรัตน์วงกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ปาฐกถาพิเศษเรื่อง"ความท้าทายของนโยบายการเงิน กับการก้าวข้ามพัฒนาการเศรษฐกิจไทย" โดยมีหน่วยทั้งภาครัฐและเอกชนที่สนใจเข้ามารับฟังเป็นจำนวนมาก

ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ปาฐกถาว่า หากมองย้อนกลับไปตั้งแต่วิกฤตการเงินโลกปี 2551 เป็นต้นมา เศรษฐกิจไทยเผชิญกับปัญหาทั้งจากภายนอกประเทศและภายในประเทศ ที่ฉุดให้การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจไม่สามารถเดินหน้าได้อย่างเต็มที่ แต่ปัจจัยที่ทำให้ประเทศไทยไม่สะดุดล้ม เนื่องจากมีผู้ประกอบการที่เก่ง โดยในปี2558 เป็นปี ที่ประเทศไทยจะได้มีโอกาสพบกับความท้าทายที่เป็นความหวังให้ไทยสามารถเดิน ข้ามอุปสรรคที่ต้องเผชิญได้ โดยต้องคำนึงถึงสภาพปัจจุบันของเศรษฐกิจไทย หน้าที่และการดําเนินนโยบายการเงินของ ธนาคารแห่งประเทศไทย การก้าวข้ามพัฒนาการเศรษฐกิจ และบทบาทของผู้ประกอบการในภาคเหนือ เพื่อให้ได้ทราบทิศทางที่ต้องเดินไปในการขับเคลื่อนประเทศไปได้อย่างมั่นใจ

ด้านปัญหาเศรษฐกิจไทยกับศักยภาพในการดําเนินนโยบายการเงิน ปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจไม่ได้มีการขยายตัวมากนักโดยตัวเลขการขยายตัวทาง เศรษฐกิจ (GDP) ที่สภาพัฒน์ได้ประกาศในเดือนที่ผ่านมา ชี้ว่าเศรษฐกิจเติบโตเพียง 0.7% เมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากไทยได้รับผลกระทบจากปัญหาทั้งปัจจัยภายในและภายนอกประเทศ ทําให้เศรษฐกิจไทยมีสภาพเหมือน"คนป่วย" ที่มีอาการซ้ำซ้อนในหลายด้าน ทั้งการบริโภค การลงทุนและการส่งออก

ขณะเดียวกัน การใช้จ่ายภาครัฐที่ถูกคาดหวังว่าจะสามารถช่วยกระตุ้นให้เศรษฐกิจมีการขยาย ตัวหลังจากมีรัฐบาลใหม่ ยังไม่สามารถช่วยพยุงเศรษฐกิจให้กลับมาเป็นปกติได้ สาเหตุหนึ่งอาจมาจากรัฐบาลเองมีบทบาทต่อประเทศหลายด้านพร้อมกัน ทั้งการปฏิรูปประเทศและการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยกระบวนการปฏิรูปประเทศ ส่วนหนึ่งได้เข้าไปชะลอความรวดเร็วในการใช้จ่ายภาครัฐ เมื่อมองในภาพรวม อาการที่เกิดขึ้นกับเศรษฐกิจไทยพบว่าเศรษฐกิจไทยป่วยด้วยการเผชิญกับโรค 3 ชนิด

โรคแรกคือ โรคแรก คือ ไข้หวัดใหญ่ จากเศรษฐกิจไทยที่ติดโรคมาจากเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวอย่างช้า ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกามีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง ทําให้ความจําเป็นในการผ่อนคลายนโยบายการเงินลดลง แต่การฟื้นตัวถือว่ายังไม่แน่นอนและเปราะบางอยู่ กลุ่มประเทศยูโรและญี่ปุ่นยังไม่มีสัญญาณการฟื้นตัวชัดเจนและจําเป็นต้องได้ รับการผ่อนคลายนโยบายการเงิน การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและทิศทางนโยบายการเงินของแต่ละประเทศที่แตกต่าง กัน มีความไม่แน่นอนสูงนี้ ส่งผลให้ความต้องการสินค้าไทยมีไม่มากและตลาดเงินโลกผันผวน ซึ่งไทยย่อมได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน

ประกอบกับจีน ซึ่งถือว่าเป็นพี่ใหญ่ของภูมิภาคกลับมีการขยายตัวต่ำกว่าที่คาดไว้มาก นอกจากนี้ ไทยยังสูญเสียสิทธิทางศุลกากร (GSP) กับประเทศคู่ค้าหลักตั้งแต่ต้นปี 2558 ทําให้คู่แข่งที่ยังคงได้ GSP อย่างกลุ่ม CLMV ย่อมได้เปรียบมากกว่าโดยเฉพาะสินค้าที่ใช้แรงงานเป็นปัจจัยการผลิตหลัก ดังนั้น ความหวังที่จะดันให้การส่งออกของไทยก้าวขึ้นมาเป็นตัวขับเคลื่อนหลักให้ เศรษฐกิจอาจมีไม่มากนัก

โรคที่สอง คือ โรคข้อเข่าเสื่อม ทําให้เศรษฐกิจไทยเดินหน้าไปด้วยความลําบากหรือแทบไม่สามารถเดินหน้าต่อไป ได้ จากปัญหาเชิงโครงสร้างของไทย ซึ่งได้แก่การขาดแคลนการลงทุนหรือพัฒนาเทคโนโลยีให้ทัดเทียมกับประเทศอื่น เช่น มาเลเซีย เกาหลี ขณะเดียวกันแรงงานไม่เพียงพอต่อการขยายตัวของอุตสาหกรรม ทั้งในแง่จํานวนและคุณภาพ ซึ่งไทยจําเป็นต้องพึ่งพาแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้นในอุตสาหกรรมที่ ต้องใช้แรงงาน และไม่มีแรงงานทักษะเพียงพอสําหรับการผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูงได้ ปัจจัยเหล่านี้ทําให้ความสามารถในการแข่งขันในการส่งออกต่างประเทศ ซึ่งเป็นข้อเข่าที่พยุงเศรษฐกิจมานาน ได้เสื่อมสมรรถภาพลงจนกลายเป็นปัญหาเรื้อรัง และทําให้ไทยติดอยู่กับ กับดักรายได้ปานกลาง

โรคสุดท้าย คือ โรคขาดความมั่นใจ ที่ซ้ำเติมทําให้โรคข้อเข่าเสื่อมไม่ได้รับการรักษาอย่างจริงจัง เพราะผู้ประกอบการไม่มั่นใจว่า เปลี่ยนเข่าแล้วจะเดินได้เหมือนเดิม หรือจะยิ่งทําให้อาการแย่ลง วิธีการรักษาจะถูกกับโรคหรือเปล่า และ หมอหรือภาครัฐที่ดูแลจะตั้งใจรักษาแค่ไหน เศรษฐกิจไทยจึงเหมือนคนไข้ที่ต้องพยุงสังขารตัวเองไปเรื่อยๆ จึงไม่แปลกที่จะเห็นการบริโภคและลงทุนของภาคเอกชนอ่อนแรงลงอย่างชัดเจน

ภายใต้โรคที่เกิดขึ้นกับเศรษฐกิจไทยทั้ง 3 ชนิดนี้ บทบาทที่ ธปท. สามารถเข้ามาช่วยรักษาได้ คือการใช้เครื่องมือนโยบายการเงิน ซึ่งเปรียบเสมือนการจ่ายยารักษาโรค สู่ระบบเศรษฐกิจ เช่น การกําหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่สนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ดูแลความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน และควบคุมเงินทุนไหลเข้าไหลออก ซึ่งช่วยดูแลเสถียรภาพด้านราคาและเสถียรภาพทางการเงินให้เกิดบรรยากาศทาง เศรษฐกิจที่เหมาะสมและเอื้อต่อการบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชน

แต่เป็นการให้ยาเพื่อบรรเทาอาการของโรคทั้ง 3 นี้และสามารถช่วยสร้างบรรยากาศที่ดีให้กับเศรษฐกิจและเรียกความเชื่อมั่น กลับมาได้บางส่วนเท่านั้น การจะรักษาที่ต้นเหตุของโรคนั้น จําเป็นต้องอาศัยบทบาทภาครัฐในการแก้ปัญหาเหล่านี้อย่างจริงจังเพื่อเรียก ความเชื่อมั่นในส่วนที่เหลือกลับมา ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยมีกําลังใจในการปรับตัวเพื่อพยายามรักษาข้อเข่าเสื่อม ด้วยตัวเองอีกแรงหนึ่ง ในเรื่องนี้ รัฐบาลปัจจุบันแสดงความตั้งใจที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน จึงเป็นทิศทางที่ดีต่อเศรษฐกิจไทย เชื่อว่า “ไม่มีปัญหาไหนจะอยู่กับเราถาวร” เมื่อวันหนึ่งปัญหาคลี่คลาย เศรษฐกิจไทยจะสามารถกลับมาฟื้นตัวได้ในที่สุด

การแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง หรือที่เปรียบเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมนี้ แม้ ธปท. จะไม่มีตัวยาที่สามารถเข้าไปรักษาและกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจด้านอุป ทาน ในการลงทุนเทคโนโลยีและปรับปรุงคุณภาพแรงงานได้โดยตรง แต่ก็ถือเป็นความท้าทายอย่างยิ่งที่ ธปท. จะต้องพยายามดําเนินนโยบายการเงินเพื่อบรรเทาเศรษฐกิจให้อยู่ในสภาพที่เหมาะ สมต่อการฟื้นตัวมากที่สุด ขณะเดียวกันก็ต้องเอื้อให้ภาครัฐเข้ามาเป็นผู้รักษาได้อย่างเต็มที่

นอกจากนั้นเวลายังเป็นปัจจัยที่บีบคั้นให้ไทยต้องรีบรับการรักษาให้ทัน ก่อนที่จะสายเกินไป เพราะจากโครงสร้างประชากรของไทยในปัจจุบัน คาดว่าในอีกไม่เกิน 10 ปี ไทยจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ อย่างสมบูรณ์ และจะทําให้ประเทศขาดแคลนทรัพยากรแรงงานมากขึ้น การรักษาอาการป่วยไข้ทางเศรษฐกิจก็จะยากลําบากขึ้นกว่าเดิม อีกทั้งเศรษฐกิจไทยช่วงหลังก็มีอัตราการเติบโตที่ชะลอลงมาก ดังนั้น หากไม่รีบรักษาโรคที่เป็นอุปสรรคในการเดินหน้าเศรษฐกิจในตอนนี้ ประเทศอื่นๆ ที่เคยวิ่งตามหลัง ปัจจุบันมีอัตราการเติบโตที่สูงกว่าอาจแซงหน้าได้

ด้านโอกาสการก้าวข้ามพัฒนาการเศรษฐกิจไทย ปัญหาเชิงโครงสร้างการผลิตไทยนั้นไม่สามารถแก้ไขได้ในระยะเวลาอันสั้น และไม่ใช่เป็นความรับผิดชอบของเฉพาะฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่ถือเป็น วาระแห่งชาติที่ต้องได้รับความสนใจและร่วมมือจากทั้งภาครัฐ เอกชน และทุกฝ่ายที่เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจจะต้องรับบทบาทที่แตกต่าง กันเพื่อให้เศรษฐกิจก้าวเดินต่อไปได้ โดยภาครัฐมีบทบาทในการเข้าไปลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน เทคโนโลยี และพัฒนาแรงงานรวมถึงการศึกษาที่จะเป็นทุนติดตัวให้ภาคเอกชนทํางานได้ง่าย ขึ้น อีกทั้งใช้นโยบายการคลังกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างเหมาะสม

สําหรับ ธปท. มีบทบาทผ่านการใช้นโยบายการเงินในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจให้ดําเนินไป อย่างราบรื่น ในขณะที่ภาคเอกชนเป็นผู้ตัดสินใจว่า จะต้องลงทุนและปรับปรุงจุดไหนจึงจะทําให้กิจการรุ่งเรืองอย่างยั่งยืนต่อไป นอกจากความร่วมมือของทุกภาคส่วนแล้ว ไทยยังได้รับโอกาสใหม่ๆ ที่สามารถเข้ามาช่วยยกระดับเศรษฐกิจไทยในการพัฒนาผลิตภาพและความสามารถในการ แข่งขันทั้ง 3 ด้าน คือ 1. การเชื่อมโยงการค้าและการลงทุนในภูมิภาค เนื่องจากไทยมีทําเลทางภูมิศาสตร์ที่สําคัญ ทําให้ไทยสามารถเชื่อมโยงกับฐานตลาด ทรัพยากรและการลงทุนที่ใหญ่ขึ้นในระดับภูมิภาค โดยกลุ่มประเทศ CLMV เป็นกลุ่มประเทศที่มีการค้ากับไทยขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนมีแนวโน้มเป็นความหวังใหม่

สําหรับการส่งออกของไทย ประกอบกับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ณ ปลายปี 2558 นี้ จะลดข้อจํากัดทางการค้า และเพิ่มอํานาจต่อรองทางเศรษฐกิจ ทําให้ประเทศในอาเซียนมีความน่าสนใจในการทําการค้าและการลงทุนมากขึ้น นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้ให้ความสําคัญกับการค้าและการลงทุนที่จะช่วยเชื่อมโยงไทยกับ ประเทศเพื่อนบ้าน ด้วยการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษตามแนวชายแดนที่สําคัญ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้การค้าบริเวณชายแดนที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นมากในแต่ละปี สามารถเคลื่อนย้ายสินค้าและทุนผ่านประตูการค้าชายแดนไปสู่ประเทศอื่นๆ ได้สะดวกมากขึ้น รวมถึงมีโอกาสเพิ่มศักยภาพของอุตสาหกรรมในการสร้างเครือข่ายการผลิตที่จะ ช่วยให้ภาคเอกชนสามารถเข้าถึงทรัพยากร เพื่อลดต้นทุนการผลิตสินค้าได้อีกด้วย 4

2. การปฏิรูปเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับการผลักดันจากภาครัฐอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพื่อยกเครื่องให้เศรษฐกิจมีทิศทางในการพัฒนาที่ชัดเจนและมีโครงสร้างที่สอด รับกันมากขึ้น ทั้งนี้ต้องไม่ลืมว่าการปฏิรูปเป็นกระบวนการซึ่งต้องอาศัยเวลาและความร่วม มือจากทุกภาคส่วน เนื่องจากการปฏิรูปเศรษฐกิจนี้ เปรียบเสมือนการผ่าตัดที่จะรักษาโรคของไทยโดยตรง ต้องใช้เวลาในการพักฟื้นระยะหนึ่งก่อนจะกลับมาเดินได้เต็มที่ แต่ก็เพื่อสุขภาพที่ดีของเศรษฐกิจไทยในระยะยาว โดยการปฏิรูปเศรษฐกิจที่สําคัญ ได้แก่ การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ ถนนและรางรถไฟ ซึ่งเป็นช่องทางคมนาคมสําคัญเพื่อรองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในอนาคต

รวมถึงการเตรียมความพร้อมในการเชื่อมโยงการค้าและการลงทุนในภูมิภาค นอกจากนี้ ยังมีแผนการปฏิรูปการดําเนินงานของรัฐวิสาหกิจ ซึ่งปัจจุบันรัฐวิสาหกิจถือว่ามีความสําคัญต่อเศรษฐกิจไทยเนื่องจากเป็นเจ้า ของทรัพยากรรายใหญ่ของประเทศ และให้บริการสาธารณูปโภคพื้นฐานที่สําคัญ เช่น การผลิตไฟฟ้า น้ำประปา หรือการคมนาคม เป็นต้น ดังนั้น การมีแผนจัดตั้งหน่วยงานกํากับดูแลรัฐวิสาหกิจให้มีประสิทธิภาพและมีความ โปร่งใสมากขึ้น จะช่วยพัฒนาการบริหารจัดการและผลการดําเนินงานของรัฐวิสาหกิจ ให้ภาครัฐไม่ต้องแบกรับผลขาดทุนและสามารถรับรายได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยสําหรับ นําไปจัดสรรทรัพยากรอย่างคุ้มค่า

นอกจากนี้ หากภาคเอกชนสามารถเข้ามาแข่งขันกับรัฐวิสาหกิจได้อย่างอิสระ จะส่งผลให้ท้ายที่สุด บริการสาธารณูปโภคก็จะมีคุณภาพสูงขึ้น ขณะที่ค่าบริการถูกลง ทําให้ต้นทุนการดําเนินธุรกิจของเอกชนลดลงด้วย และสุดท้าย การปรับเกณฑ์สิทธิประโยชน์แก่นักลงทุน (BOI) ซึ่งเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ได้มีการปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ของประเทศ จากเดิมที่เคยพิจารณาให้สิทธิประโยชน์ตามเกณฑ์พื้นที่ มาสู่การส่งเสริมการลงทุนตามเกณฑ์อุตสาหกรรมที่สร้างมูลค่าเพิ่มมากขึ้น ซึ่งถือเป็นโอกาสในการพัฒนาผลิตภาพของประเทศในระยะยาว

3. การพัฒนาภาคการเงิน เป็นแผนยุทธศาสตร์ระยะยาวของ ธปท. ซึ่งเน้นการพัฒนาการให้บริการทางการเงินและระบบชําระเงินให้มีเสถียรภาพและ ประสิทธิภาพ เพื่อรองรับการทําธุรกรรมในปริมาณมากขึ้น มีผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่หลากหลายและตอบโจทย์ภาคเอกชนได้มากขึ้น และมีความทั่วถึงในการให้บริการทางการเงิน นอกจากนี้ การทําข้อตกลงการทําธุรกรรมทางการเงินระหว่างประเทศคู่ค้า เช่น การลงนามข้อตกลงว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตราแบบทวิภาคีจะส่งเสริมให้ผู้ทํา การค้าระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านสามารถแลกเปลี่ยนเงินตราได้อย่างสะดวก และสามารถลดต้นทุนการทําธุรกิจได้

ดังนั้น การมีระบบบริการทางการเงินที่มีประสิทธิภาพ จะทําให้การดําเนินธุรกิจของเอกชนมีความคล่องตัว และเป็นตัวเร่งให้ประเทศสามารถก้าวข้ามข้อจํากัดทางเศรษฐกิจได้อย่างรวดเร็ว ยิ่งขึ้น โอกาสทั้งสามด้านนี้ อาจเป็นเพียงแค่โอกาสที่เกิดขึ้นในประเทศไทย หากไม่มีความพร้อม จะไม่สามารถที่จะฉวยโอกาสนี้ได้มากนัก โดยความพร้อมของธุรกิจเกิดจากการปรับปรุงการดําเนินงานเพื่อมุ่งพัฒนาผลิต ภาพ และความสามารถในการแข่งขัน ให้ทันกับรูปแบบธุรกิจที่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก ทั้งด้านการค้าระหว่างประเทศ ที่มีความท้าทายและมีระดับการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น

เนื่องจากเศรษฐกิจเพื่อนบ้านที่กําลังเติบโต เช่นประเทศกลุ่ม CLMV มีความสามารถในการแข่งขันดีกว่าไทยในแง่ความได้เปรียบด้านค่าแรงมากกว่า และยังได้รับสิทธิพิเศษทางศุลกากร (GSP) ในสินค้าส่งออก แนวโน้มการผลิตสินค้าที่ใช้แรงงานจะย้ายไปอยู่ในประเทศเหล่านี้มากขึ้น ซึ่งระดับการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นนี้กดดันให้การแข่งขันด้านราคา ซึ่งเป็นกลยุทธ์เดิมของไทยในการผลิตสินค้าปริมาณมากๆ ไม่สามารถทําได้อีกต่อไป ดังนั้นภาคเอกชนจะต้องเน้นการแข่งขันด้วยคุณภาพของสินค้ามากขึ้น เช่น การใช้นวัตกรรม ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีกับสินค้า หรือการออกแบบบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น

จากแนวโน้มโครงสร้างประชากรที่จะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ จะทําให้อุตสาหกรรมไม่สามารถพึ่งพาแรงงานเป็นหลักได้อีก ภาคเอกชนจําเป็นต้องฝึกฝนทักษะแรงงานที่มีอยู่ให้สามารถรองรับการผลิตสินค้า ที่สร้างมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต

ปัจจัยสู่ความสําเร็จของการพัฒนาเศรษฐกิจในภาคเหนือ หากเปรียบเทียบประเทศไทยทั้งประเทศเป็นร่างกายคน ภูมิภาคต่างๆ ในประเทศเปรียบเสมือนแขนขา ที่เป็นอวัยวะในการขับเคลื่อนประเทศไปข้างหน้าซึ่งสําคัญไม่น้อยกว่าส่วน อื่นๆ ในร่างกายดังนั้น ความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจภูมิภาค คือองค์ประกอบสําคัญที่ทําให้ประสบความสําเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจได้ เมื่อพิจารณาภาคเหนือ แม้จะมีขนาดของเศรษฐกิจไม่ใหญ่นัก แต่เป็นภูมิภาคที่มีความแข็งแกร่งในหลายมิติ ได้แก่ โครงสร้างเศรษฐกิจที่กระจายตัวดี ทั้งด้านเกษตร อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว

ทั้งนี้ สามารถทนทานต่อความผันผวนจากเหตุการณ์ปัจจัยภายนอกที่กระทบต่อประเทศได้มาก และทุนทางเศรษฐกิจดี สภาพภูมิประเทศและเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่น รวมถึงแรงงานที่มีคุณภาพ ที่สําคัญคือการมีโอกาสทางเศรษฐกิจดี จากการมีชายแดนติดประเทศเมียนมาร์ และลาว รวมถึง การเป็นประตูสู่จีนตอนใต้จึงได้รับโอกาสทั้งด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว โดยเฉพาะการค้าชายแดน ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มีมูลค่าเพิ่มขึ้นถึง 7 เท่า

นอกจากนี้ ยังมีนโยบายสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่จากภาครัฐ ให้จัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด จังหวัดตาก เพื่อสอดรับกับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งจะช่วยดึงดูดการลงทุนจากภาคเอกชนทั้งในและต่างประเทศได้ และสุดท้าย คือการที่ภาครัฐได้เข้ามาจัดเตรียมความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานอย่างเป็น รูปธรรม ซึ่งจะช่วยผลักดันให้เศรษฐกิจภาคเหนือเติบโตได้เต็มศักยภาพ ไม่ว่าจะเป็นการขยายเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก และระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ รวมถึงขยายถนนในเส้นทาง ตาก-แม่สอด และเตรียมผลักดันสร้างสะพานมิตรภาพไทย-เมียนมาร์ แห่งที่ 2 โดยจะทําให้การขนส่งสินค้าสู่พื้นที่เศรษฐกิจในเมียนมาร์มีความสะดวกและรวด เร็วยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ การพัฒนาภาคการเงินของไทยจะทําให้ภาคเหนือได้ประโยชน์มากเมื่อเทียบกับภาค อื่น เนื่องจากบทบาทการค้าและการลงทุนของภาคเหนือกับจีนที่เร่งตัวขึ้น การที่ ธปท. ได้ทําข้อตกลงทวิภาคีว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตราสกุลหยวนและบาท กับจีน และยังได้ผลักดันให้มีการจัดทําความเข้าใจว่าด้วยการแต่งตั้งธนาคารชําระดุล เงินหยวนในประเทศไทย เพื่อเป็นกลไกรองรับสภาพคล่องและสร้างความมั่นใจให้แก่ภาคเอกชนในการใช้เงิน สกุลหยวนและบาทในการค้าการลงทุนระหว่างกัน เป็นการช่วยลดต้นทุนและเอื้อต่อการทําการค้าระหว่างนักธุรกิจภาคเหนือและนัก ธุรกิจจีนได้มากขึ้น

จากลักษณะพิเศษของเศรษฐกิจและความพร้อมในด้านโอกาสจึงมั่นใจว่าภาคเหนือ มีศักยภาพเป็น แขนขาหนึ่งที่แข็งแรงพอที่จะช่วยให้เศรษฐกิจก้าวต่อไปได้ แต่จะก้าวไปได้เร็วเพียงใดขึ้นกับทุกภาคส่วนได้เตรียมพร้อมเพียงใดที่จะ สร้างมูลค่าเพิ่มในสินค้า ผ่านการตีโจทย์ของแต่ละอุตสาหกรรมให้แตก ทั้งในเรื่องการตลาด รสนิยม และความต้องการของผู้บริโภคในอนาคต คือหัวข้อวิจัยที่สําคัญที่สุด ที่ต้องอาศัยประสบการณ์ของผู้ประกอบการควบคู่กับการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และการขนส่ง ผ่านการปรับปรุงเทคโนโลยีและนําระบบ Logistic ที่ทันสมัยมาใช้

ทั้งนี้ รวมถึงสิ่งที่ภาครัฐพยายามผลักดันเพื่อลดต้นทุนด้านธุรกรรมและเพิ่มโอกาสทาง ธุรกิจ คือ การส่งเสริมให้ผู้ประกอบการประยุกต์ใช้ Digital Technology หรือ Application ต่างๆ ในกิจการให้มากขึ้น เพราะโลกทุกวันนี้ขับเคลื่อนด้วยสมาร์ทโฟน มีการพึ่งพิงเทคโนโลยีนี้มากขึ้นเป็นลําดับ ซึ่งไม่สามารถที่จะปฏิเสธข้อเท็จจริงนี้ได้ ที่ผ่านมา ธปท. ได้จัดโครงการแลกเปลี่ยนข้อมูลเศรษฐกิจและธุรกิจกับผู้ประกอบการในภาคเหนือ ทําให้ได้เห็นศักยภาพและการเตรียมพร้อมของผู้ประกอบการของภาคเหนือในการ พัฒนาธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการเน้นการออกแบบสินค้ารูปแบบใหม่ๆ การประยุกต์ใช้ความคิดสร้างสรรค์ และการปรับกระบวนการผลิตให้สอดรับกับค่าแรงที่เพิ่มขึ้น

สำหรับอุตสาหกรรมที่มีบทบาทสําคัญและมีศักยภาพสูงในเศรษฐกิจภาคเหนือ เช่นอุตสาหกรรมอาหาร ภาคเหนือมีวัตถุดิบเกษตรที่มีคุณภาพสูง และมีปริมาณมากสําหรับผลิตอาหารแปรรูปที่มีความหลากหลายและเป็นที่ต้องการ ของตลาด ทั้งในประเทศและต่างประเทศ อาทิ ข้าวโพดหวาน ผักผลไม้ อบแห้ง ถั่วแระญี่ปุ่น ซอสปรุงรส และผลิตภัณฑ์ปรุงรส แต่หากผลิตสินค้าอาหารแปรรูปโดยใช้เทคโนโลยีทันสมัยเข้ามาดูแล ตั้งแต่การเพาะปลูกพืชวัตถุดิบ โดยใช้เทคโนโลยีที่เชื่อมโยงกับดาวเทียมเพื่อกําหนดพื้นที่เพาะปลูกที่เหมาะ สม ซึ่งจะทําให้ได้ผลผลิตต่อไร่สูงและคุณภาพดี

นอกจานั้น ต้องมีกระบวนการขนส่งที่ทันสมัยในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การเป็นวัตถุดิบต้นน้ำ เข้าสู่โรงงานจนผลิตเป็นอาหารสําเร็จรูปปลายน้ำออกสู่ตลาด มีแพ็คเก็จที่ทําให้สินค้าดูทันสมัย สะดวกต่อการพกพาของผู้บริโภค โดยอาหารแปรรูปนั้นยังคงความอร่อย มีคุณค่าทางโภชนาการอาหารอยู่ครบ แม้จะเก็บไว้นาน กระบวนการผลิตที่กล่าวมานี้ แม้จะลงทุนสูงอยู่บ้างในครั้งแรกเริ่ม แต่เมื่อผลิตเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคจํานวนมากได้แล้ว การกําหนดราคาขายสินค้านั้นให้สูง ยังดูเหมาะสมและคุ้มค่าในสายตาของผู้บริโภค ซึ่งเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าได้เป็นอย่างดี โดยมีการดําเนินงานพื้นที่เศรษฐกิจนวัตกรรมอาหารภาคเหนือ เพื่อประยุกต์ใช้นวัตกรรมเพิ่มมูลค่าและคุณภาพให้กับอาหารมากขึ้น

อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของภาคเหนือมีจุดเด่นในเรื่องแรง งานที่มีทักษะ มีความละเอียดอ่อน และมีขีดความสามารถสูงในการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ จนเป็นที่ยอมรับของบริษัทข้ามชาติที่เข้ามาลงทุนผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ในนิคมอุตสาหกรรมลําพูน ขณะเดียวกัน โดยสภาพภูมิอากาศของภาคเหนือที่เหมาะกับอุตสาหกรรมนี้ คือความชื้นไม่สูงและไม่มีความเค็ม ต่างจากสภาพภูมิอากาศในแถบนิคมอุตสาหกรรมของ Eastern Seaboard หากได้มีการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานเพิ่มขึ้น รวมทั้งใช้เทคโนโลยี Knowhowในระดับที่สูงขึ้น จะทําให้อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของภาคเหนือ สามารถยกระดับไปสู่การผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ชนิดใหม่ที่ใช้เทคโนโลยี ขั้นสูงได้ไม่ยาก ซึ่งเป็นการก้าวข้ามการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์แบบเดิมๆ

ดร.ประสาร กล่าวอีกว่า อุตสาหกรรมหลักของภาคเหนืออีกอย่าง คืออุตสาหกรรมท่องเที่ยว ซึ่งภาคเหนือมีความได้เปรียบจากการมีแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามจํานวนมาก ทั้งทางธรรมชาติและเชิงวัฒนธรรม บวกกับสภาพอากาศที่เหมาะสมต่อการท่องเที่ยว คนภาคเหนือมีจิตใจที่ให้บริการ หากมีการพัฒนาด้านการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จะเป็นปัจจัยสําคัญในการยกระดับไปสู่การท่องเที่ยวที่ดี มีคุณภาพและยั่งยืนในระยะยาว ซึ่งส่วนหนึ่งสามารถใช้เทคโนโลยีมาช่วยได้

โดยเฉพาะด้านการตลาดเชิงรุก ทั้ง Digital Technology และSocial media เพื่อยกระดับการให้บริการแก่นักท่องเที่ยวในทุกขั้นตอนได้ ตั้งแต่การจองพาหนะเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร เพื่อให้ข้อมูลที่ถูกต้อง และทันสมัยในทุกเรื่องอย่างรวดเร็ว รวมทั้งสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องแก่นักท่องเที่ยว โดยเฉพาะในยุคของ digital economy ที่ข้อมูลต่างๆ ถูกบรรจุอยู่ในโลก internet และฐานข้อมูล cloud computing นั้น เราสามารถมองไปไกลถึงการใช้เครื่องมือจัดการกับ Big Data เหล่านี้ เพื่อสกัดให้ได้ข้อมูลที่สะท้อนความชอบของนักท่องเที่ยวแต่ละประเภทและงบ ประมาณการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวทั่วโลกเพื่อนํามาวิเคราะห์การตลาดและ กลยุทธ์ธุรกิจท่องเที่ยวของไทยได้

นอกจากนี้ ควรมีการวางแผนพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยว ที่เชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยว ที่เป็นจุดเด่นของแต่ละจังหวัดในภาคเหนือ ทําเป็น package ทางเลือกให้นักท่องเที่ยวได้เลือกตามความต้องการที่หลากหลาย เพื่อให้สามารถเป็นแหล่งท่องเที่ยวตลอดทั้งปีซึ่งเป็นการสร้างความยั่งยืน ให้กับภาคการท่องเที่ยวภาคเหนือวิธีหนึ่ง แม้อุตสาหกรรมของภาคเหนือมีศักยภาพสูงและช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า ได้ก็ตาม แต่จะหยุดที่ ผลิตเก่ง อย่างเดียวคงไม่ได้ต้องการขายเก่งด้วย การประยุกต์เทคโนโลยีที่ช่วยให้ผลิตภัณฑ์เข้าถึงผู้บริโภคจึงเป็นความท้าทาย สําคัญ เมื่อยกระดับจากผู้ผลิตเก่งไปสู่นักการตลาดชั้นยอด เชื่อว่า การพัฒนาเศรษฐกิจไทยไปสู่เป้าหมายที่หวังไว้จึงไม่ไกลมากนัก

หลังจากจบปาฐกถา ดร.ประสาร ไตรรัตน์วงกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า เศรษฐกิจไทยมีการฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป ปัจจัยเสี่ยงยังคงมีอยู่ทั้งภายในและภายนอกประเทศ ภาคการส่งออกได้รับผลกระทบต่อเศรษฐกิจที่ปรับตัวลดลงจากทั่วโลก ต้องช่วยสร้างความมั่นใจทั้งภาครัฐและเอกชนให้สามารถเดินหน้าทางเศรษฐกิจได้ ภาคเหนือมีจุดแข็งหลายเรื่องทั้งด้านการเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน มีทุนทางสังคมและวัฒนธรรมที่นักท่องเที่ยวมีความสนใจเข้ามาในพื้นที่ ประกอบกับแรงงานฝีมือในพื้นที่ยังคงมีอยู่เป็นจำนวนมาก เป็นจุดแข็งของภาคเหนือ

โดยเฉพาะในเรื่องของการท่องเที่ยว จะต้องมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยสนับสนุนให้การท่องเที่ยวเติบโตได้อย่าง รวดเร็ว ด้านอุตสาหกรรมภาคเหนือมีแรงงานฝีมืออยู่เป็นจำนวนมากที่มีความพร้อมที่จะทำ งานอยู่อีกเป็นจำนวนมาก จึงไม่น่าเป็นห่วงเรื่องการขาดแคลนแรงงานฝีมือในพื้นที่ ด้านหนี้ครัวเรือนยังเป็นจุดที่น่าเป็นห่วง เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจทั้งประเทศ ทำให้หนี้ภาคครัวเรือนมีคงค้างอยู่อีกเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ต้องให้ความรู้กับครัวเรือนในการบริหารจัดการ แต่สิ่งสำคัญต้องมีการวางแผนในการสร้างรายได้ให้เพิ่มขึ้นกับกลุ่มที่เป็น หนี้ครัวเรือน

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น